หน้ากากสู้ Covid-19 และ PM2.5

หน้ากากสู้ Covid-19 และ PM2.5
ส่วนตัวของผู้เขียนว่าจะรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับหน้ากาก ที่ศึกษาด้านกายภาพ โดยใช้กล้อง
จุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคป SEM และวิเคราะห์ธาตุวัสดุด้วย EDS ที่นำมาทำหน้ากาก
ตั้งแต่ไทยเกิดวิกฤตเรื่องฝุ่น PM2.5 แต่ยังไม่มีเวลา อีกอย่างผมยังไม่มีตัวอย่างหน้ากากN95
มาเปรียบเทียบ กับหน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้า มาบทความนี้มีทั้ง 3 ตัวอย่าง3แบบที่จะ
นำมาเปรียบเทียบทางกายภาพโดยใช้กล้อง SEM และวิเคราะห์ธาตุด้วย EDS กันครับ
page All 5
ย้อนดูบทความเรื่องฝุ่น PM2.5 คลิกครับ

ตอนแรกเลยจะศึกษาทางด้านกายภาพอย่างเดียว แต่พอดูทางกายภาพแล้วยังมีข้อสงสัยกับ
ภาพที่ปรากฏเลยวิเคราะห์ธาตุต่อเลยเป็นที่มาว่าทำไมจะต้องวิเคราะห์ธาตุด้วย ส่วนตัวผมไม่
ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านหน้ากากนะครับ การวิเคราะห์หน้ากากยังมีเครื่องมือหลากหลายที่นำมา
วิเคราะห์กัน แต่บทความนี้เราใช้แค่เครื่องมือที่อยู่ใกล้ตัวผมมาศึกษา 2เครื่องมือข้างต้นเท่านั้น

ตัวแรกที่เราจะนำมาศึกษากันคือหน้ากากอนามัย 4ชั้น เป็นตัวอย่างที่ผมได้มาจากประเทศ
เพื่อนบ้านยี่ห้อหนึ่ง ขอปิดยี่ห้อและแหล่งที่มานะครับ เพราะช่วงที่ผู้เขียนได้เขียนบทความนี้
หน้ากากนั้นมีราคาเหมือนทองคำเป็นสิ่งหายากและลำบากเหลือเกินครับ

page A
หน้ากากอนามัยแบบ 4 ชั้นตัวอย่างตามภาพด้านล่างครับ ถ้าเราดูด้วยตาเปล่าเราจะแทบมอง
ไม่ออกเลยนะครับ ว่าลักษณะเส้นใยจะเป็นแบบใด ทอลักษณะใหน ตัวอย่างตามภาพถ้าเรา
จะศึกษาทั้ง 4 ชั้นว่าจะเป็นลักษณะใดผมจะต้องตัดตัวอย่างให้มีขนาด 1×1ซม. ทั้ง4ชั้นเลย
ภาพด้านนอกหน้ากากอนามัยก่อนตัด

mask 4layer_1
ภาพด้านในหน้ากากอนามัยก่อนตัด
mask 4layer_2
การศึกษาทางกายภาพด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคป ผมจะใช้ทั้ง 2โหมดในการ
ศึกษา โหมดแรกเป็นโหมดความเป็นสูญญากาศต่ำ LV Mode (Low Vacuum) กับอีกโหมด
โหมดความเป็นสูญญากาศสูง HV Mode (High Vacuum)ซึ่งโหมด HV จะต้องมีการฉาบ
เคลือบให้ตัวอย่างนำไฟฟ้าก่อน วิธีการเตรียมไม่ได้เขียนไว้ให้นะครับเพราะบทความจะยาวไป

ตามภาพล่างบนจะถ่ายโหมด HV จะเห็นลักษณะเส้นใยไขว้กันไปมา ถ่ายที่กำลังขยาย 50x
หรือกำลังขยาย 50เท่า ภาพถ่าย2โหมดที่กำลังขยายต่ำ ถ้าไม่สังเกตุ ทางกายภาพจะดูว่าจะ
เหมือนกัน แท้จริงแล้วภาพที่ถ่ายด้วยโหมด LV ที่เราใช้ BEI detector เราจะเห็นมีเม็ดขาวๆ
เล็กๆเต็มไปหมด ความแตกต่างของสีในโหมดนี้ บ่งบอกถึงความแตกต่างด้านองค์ประกอบ
ของธาตุแตกต่างกัน หรือความต่างด้าน Atomic No.ของธาตุนั้นๆจะอธิบายให้เห็นภาพอีกที
ที่กำลังขยายภาพสูงกว่านี้ครับ

Layer 1 HV x50+LV 50
ภาพล่าง เรามาดูภาพรวมในแต่ละชั้นตั้งแต่ ชั้น1-4 จะสังเกตุได้ว่าทางกายภาพของเส้นใยจะ
เหมือนๆกันเลยทั้ง4ชั้น  ตามภาพเป็นภาพจากโหมดความเป็นสูญญากาศสูง HV Mode
กำลังขยายภาพ 350x เท่า
layer1-4 HV
ภาพล่าง ลักษณะทางกายภาพชั้น1-4 จะสังเกตุได้ว่าทางกายภาพของเส้นใยจะเหมือนๆ
กันเลยทั้ง4ชั้น  ตามภาพเป็นภาพจากโหมดความเป็นสูญญากาศต่ำ LV Mode ภาพที่ได้
จะแยกความแตกต่างตามอะตอมมิคนัมเบอร์ ธาตุเบาจะมีสีออกโทนมืดโทนเทา หากธาตุ
หนักจะมีสีโทนออกสว่างหรือขาวกว่าธาตุเบาครับ
layer1-4 LV
มาดูภาพขยายแต่ละโหมดกันชัดๆกันอีกทีนะครับ
ตามภาพล่างเป็นลักษณะเส้นใยถ่ายที่กำลังขยาย 350x เท่า ในโหมด HV Mode

Layer 4 HV x350

ตามภาพล่างเป็นลักษณะเส้นใยถ่ายที่กำลังขยาย 350x เท่า ในโหมด LV Mode

Layer 4 LV x350
ตามภาพบน หากดูภาพสองโหมดเทียบกันจะเห็นเม็ดๆฝั่งอยู่ในเส้นใยอย่างสม่ำเสมอกัน ดูภาพ
อย่างเดียวเราจะไม่ทราบได้ว่ามันคืออะไร เราก็จะวิเคราะห์ธาตุดูต่อนะครับว่ามันคืออะไร

เรามาวิเคราะห์ธาตุหน้ากากอนามัยด้วย EDS ด้านเชิงปริมาณ เชิงคุณภาพกันต่อนะครับ
ตัวอย่างบทความวิเคราะห์ธาตุเชิงปริมาณ เชิงคุณภาพคลิก
วิเคราะห์เชิงปริมาณจะได้ค่า ตามค่าด้านล่าง ดูค่าที่ช่อง Element Wt%นะครับ เราจะได้ค่า
Cคาร์บอน 71.24% Oออกซิเจน 17.86% Siซิลิกอน 0.11% Pฟอสฟอรัส 0.29% และ Ca
แคลเซียม 10.50% เป็นการวิเคราะห์โดยรวมที่กำลังขยาย 50เท่า
Mask_SP_Q
วิเคราะห์เชิงคุณภาพ ที่กำลังขยาย 50 เท่าเช่นกันจะได้ กราฟค่าตามภาพล่าง
Mask_SP
ตามภาพล่าง เราจะมากำหนดจุดตำแหน่งวิเคราะห์ให้ละเอียดขึ้น เพื่อจะเช็คองค์ประกอบของ
ธาตุระหว่างเส้นใยตำแหน่ง 2 กับเม็ดขาวๆตำแหน่ง 1 กันตามภาพล่างครับ

Mask Point

วิเคราะห์เชิงปริมาณตำแหน่งที่ 1 เม็ดๆสีขาว จะได้ค่า ตามค่าด้านล่าง ดูค่าที่ช่อง Element
Wt% นะครับ เราจะได้ค่า Cคาร์บอน 27.33% ,Oออกซิเจน 47.20% ,Siซิลิกอน 0.05%, P
ฟอสฟอรัส 7.99%, และ Ca แคลเซียม 17.43% จะมี P,Ca เพิ่มขึ้นมา

Mask Point 1_Q
เชิงคุณภาพ ตำแหน่ง 1 ตามกราฟล่าง
Mask Point 1_SP
วิเคราะห์เชิงปริมาณตำแหน่งที่ 2 เส้นใย จะได้ค่า ตามค่าด้านล่าง ดูค่าที่ช่อง Element
Wt% นะครับ เราจะได้ค่า Cคาร์บอน 78.50% ,Oออกซิเจน 14.53% ,Siซิลิกอน 0.04%, P
ฟอสฟอรัส 0.05%, และ Ca แคลเซียม 6.88% จะเห็นได้มามี C คาร์บอน Oออกซิเจนเป็น
องค์ประกอบส่วนใหญ่ เส้นใยไนล่อน และผ้าส่วนใหญ่ก็จะมี 2ธาตุนี้รวมกันเกือบ 100%
Mask Point 2_Q
Mask Point 2_SP
อีกโหมดหนึ่งการวิเคราะห์ EDS เราสามารถหาตำแหน่งของธาตุว่า บริเวณภาพที่เราวิเคราะห์
ได้ธาตุมาแล้วนั้น แต่ไม่ทราบว่าอยู่บริเวณใดของภาพ เราสามารถมาวิเคราะห์การกระจายตัว
ของธาตุได้ต่อ ตามภาพล่างเราได้วิเคราะห์การกระจายตัว Mapping จะได้ผลว่าเม็ดๆที่เรา
เห็นจะเป็นกลุ่มของ Ca แคลเซียมส่วนใหญ่ Pฟอสฟอรัสอีกเล็กน้อย ส่วนเส้นใยจะเป็คาร์บอน
ส่วนมาก
การวิเคราะห์การกระจายตัวของธาตุเชิงคุณภาพ คลิกดูรายละเอียด

Mask Mapping

มาดูหน้าการตัวอย่างที่ 2 กันครับเป็นแบบ N95
ตามภาพล่างจะเป็นตัวอย่างหน้ากากแบบ N95 ยี่ห้อหนึ่ง ขออนุญาตุไม่บอกว่ายี่ห้ออะไรนะ
ครับ จะเป็นหน้ากากที่ป้องกันเชื้อโรค และฝุ่นได้ดีกว่าแบบแรกข้างต้นครับ
page N95
รูปร่างหน้ากากแบบ N95 ด้านนอก

mask n95_2

รูปร่างหน้ากากแบบ N95 ด้านใน

mask n95_1

ตามภาพล่างเป็นลักษณะเส้นใยถ่ายที่กำลังขยาย 50 x เท่า ด้านนอก ในโหมด LV Mode
ถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคป SEM แบบสูญญากาศต่ำ ผมไม่ขอตัดหน้า
กากนี้แบบตัวอย่างแรกนะครับ เพราะอย่างที่บอกไว้หน้ากากมีค่ามากกว่าที่จะทำลายในภาวะ
ช่วง Covid19 ช่วงนี้ครับ ใช้ได้ใช้ไปก่อน ส่วนตัวยังต้องทำความสะอาดซัก ตากแดดนำกลับ
มาใช้ใหม่อยู่ครับ

3M 9010_N95 LV x50

ภาพล่าง ลักษณะเส้นใยถ่ายที่กำลังขยาย 350x เท่า ด้านนอก ดูแล้วลักษณะการเรียงตัวของ
เส้นใย N95 จะเหมือนกับหน้ากากอนามัยแบบแรก แต่ถ้าดูทางกายภาพแล้ว เส้นใยN95จะมี
ขนาดเล็กกว่าเราจะเปรียบเทียบเรื่องขนาดอีกทีนะครับในตอนท้าย

3M 9010_N95 LV x350

ภาพล่าง ลักษณะเส้นใยถ่ายที่กำลังขยาย 50x เท่า ด้านใน

3M 9010_N95 LV x50 (In)

ภาพล่าง ลักษณะเส้นใยถ่ายที่กำลังขยาย 350x เท่า ด้านใน

3M 9010_N95 LV x.350 (In)

ตามภาพบน หากดูภาพสองภาพที่กำลังขยาย 350x จะเห็นเม็ดๆฝั่งอยู่ในเส้นใย เหมือนหน้า
กากอนามัยแบบแรก แต่มีน้อยกว่า และจะมีความต่างตรงมีเม็ดๆขาวๆก้อนใหญ่กว่า เกาะอยู่
ที่เส้นใยด้วยครับ ดูภาพอย่างเดียวเราจะไม่ทราบได้ว่ามันคืออะไร เราก็จะวิเคราะห์ธาตุดูต่อนะ
ครับว่ามันคืออะไร

เรามาวิเคราะห์ธาตุหน้ากากอนามัยด้วย EDS ด้านเชิงปริมาณ เชิงคุณภาพกันต่อนะครับ
บทความวิเคราะห์ธาตุเชิงปริมาณ เชิงคุณภาพคลิก
วิเคราะห์เชิงปริมาณจะได้ค่า ตามค่าด้านล่าง ดูค่าที่ช่อง Element Wt%นะครับ เราจะได้ค่า
Cคาร์บอน 77.64% Oออกซิเจน 18.58%  Mg แมกนีเซียม 0.42% Siซิลิกอน 1.09%
Ca
แคลเซียม 1.89%  และTi ไททาเนียมอีก 0.39% เป็นการวิเคราะห์ที่กำลังขยาย 50เท่า
สังเกตุผลจะพบว่าตัวอย่างนี้จะไม่มี Pฟอสฟอรัส แต่ที่มีเพิ่ม Mg,Ti จากตัวอย่างก่อนหน้า
3M 9010 N95_Q
3M 9010 N95_SP
เราสามารถมาวิเคราะห์การกระจายตัวของธาตุได้ต่อ ตามภาพล่างเราได้วิเคราะห์การกระจาย
ตัว Mapping จะได้ผลว่าเม็ดๆที่เราเห็นจะเป็นกลุ่มของ Ca แคลเซียมที่ฝั่งอยู่กับเส้นใย คล้าย
กับตัวอย่าแรก ส่วนที่ไม่คล้ายจะเป็น Siซิลิกอน กับMgแมกนีเซียม ที่เกาะอยู่บนเส้นใยแทน
ไม่ใช่การฝั่งบนเส้นใย ส่วนเส้นใยจะเป็นคาร์บอนส่วนมาก
การวิเคราะห์การกระจายตัวของธาตุเชิงคุณภาพ คลิกดูรายละเอียด

N95 Mapping

มาตัวอย่างสุดท้ายกันนะครับ ที่จะนำมาเปรียบเทียบ คือหน้ากากผ้า ที่ช่วงเกิดCovid19 และ
มีการขาดแคลนหน้ากาก จะเห็นได้ทั่วๆไปมีการนำผ้ามาเย็บ 2ชั้นบ้าง 3ชั้นบ้าง เพื่อนำมาใช้
ทดแทน หน้ากากอนามัย หน้ากากN95 กัน เราจะมาดูโครงสร้างเส้นใย การทอ การเรียงตัว
เส้นใยผ้าหน้ากากแบบนี้กันครับ

page All 6
ตามภาพล่างคือตัวอย่างหน้ากากผ้าด้านนอก

mask P 1

ตามภาพล่างคือตัวอย่างหน้ากากผ้าด้านใน สังเกตุได้ด้วยตาเรา ในเบื้องต้นจะใช้ผ้าคนละแบบ

mask P 2

ตามภาพล่าง เป็นภาพถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคป SEM ที่กำลังขยาย
50x เท่า จะเห็นว่าลักษณะการทอการเรียงตัวของเส้นใยของหน้ากากด้านนอก

Mask P x50

ตามภาพล่าง เป็นภาพถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคป SEM ที่กำลังขยาย
50x เท่า จะเห็นว่าลักษณะการทอการเรียงตัวของเส้นใยของหน้ากากด้านใน ด้านในถ้าเทียบ
ด้านนอกกับด้านใน จะพบว่าการทอเส้นใยด้านในจะแน่นกว่า

Mask P x50 (IN)

ตามภาพล่าง เป็นภาพถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคป SEM ที่กำลังขยาย
350x เท่า จะเห็นว่าลักษณะการทอการเรียงตัวของเส้นใยของหน้ากากด้านนอก

Mask P x350_2

ตามภาพล่าง เป็นภาพถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคป SEM ที่กำลังขยาย
350x เท่า จะเห็นว่าลักษณะการทอการเรียงตัวของเส้นใยของหน้ากากด้านใน จะพบว่าตาม
เส้นใยจะไม่มีเม็ดๆสีขาวเกาะแบบเด่นชัดมาก

Mask P x350 (IN)

เรามาวิเคราะห์ธาตุหน้ากากอนามัยด้วย EDS ด้านเชิงปริมาณ เชิงคุณภาพกันต่อนะครับ
บทความวิเคราะห์ธาตุเชิงปริมาณ เชิงคุณภาพคลิก
วิเคราะห์เชิงปริมาณจะได้ค่า ตามค่าด้านล่าง ดูค่าที่ช่อง Element Wt%นะครับ เราจะได้ค่า
Cคาร์บอน 57.06% Oออกซิเจน 42.84%  และTi ไททาเนียมอีก 0.10% เป็นการวิเคราะห์ที่
กำลังขยาย 50เท่า ตัวอย่างนี้จะไม่มี Mg แมกนีเซียม Pฟอสฟอรัส Si ซิลิกอน และ Ca แคล
เซียม จากตัวอย่างก่อนหน้า ตัวอย่างนี้ผมจะไม่ได้ทำการกระจายตัว Mapping นะครับ

Mask P
Mask P_SP
สรุปทั้งสามตัวอย่างที่เรามาวิเคราะห์ดูทางกายภาพ จะพบว่าตัวอย่างหน้ากากอนามัย กับ
ตัวอย่างหน้ากาก N95 การเรียงตัวของเส้นใยจะคล้ายกันกับ 2 ตัวอย่างนี้ จะแตกต่างกับตัว
อย่างหน้ากากผ้าอย่างมาก คือหน้ากากผ้าจะเรียงตัวจะเรียงตัวแน่นกว่า ช่องว่างแทบจะ
มองไม่เห็นเมื่อเทียบกับ 2 ตัวอย่างแรก ขนาดเส้นใยของหน้ากากผ้าจะมีขนาดเล็กสุด รองลง
มาจะเป็นหน้ากากN95 เส้นใยใหญ่สุดจะเป็นหน้ากากอนามัยครับ ตามภาพล่าง

page All 2

ด้านเชิงคุณภาพของหน้ากากทั้งสาม ตามกราฟด้านล่างเมื่อนำมาเทียบกัน เส้นใยไนล่อนทั่วๆ
ไปหากวิเคราะห์ด้วย EDS จะมี C คาร์บอน และ O ออกซิเจนเป็นองค์ประกอบหลัก ตามกราฟ
ในส่วนหน้ากากอนามัย และ N95 จะมีองค์ประกอบธาตุอื่นๆเจือมา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพใน
การกักเชื้อโรค ดูดความชื้น ฆ่าเชื้อ ซึ่งจะไม่พบในหน้ากากผ้าแต่หน้ากากผ้าก็จะมีข้อดีกว่า 2
หน้ากากแรก คือลักษณะเส้นใยเรียงตัวกันอย่างหนาแน่น จำนวนเส้นใยเยอะ จะกักฝุ่นได้ค่อน
ข้างดีกว่า หน้ากากผ้าการทำต้นทุนก็จะแพงกว่าด้วยครับ แต่ด้วยที่เราหาวัตถุดิบได้ง่าย เราทำ
ด้วยตัวเองได้ จึงทำให้เรารู้สึกว่าไม่แพงครับ อีกอย่างยามที่หน้ากากแพงและหาอยากช่วงนี้
ทำหน้ากากผ้าไว้ใช้ ใช้ได้ดีเลยทีเดียวครับ เมื่อเทียบกับหน้ากากอีก2แบบที่ทำด้วยเครื่อง
จักรเกือบ100%

Quali ALL

การวัดขนาดของเส้นใยของหน้ากากทั้งสามแบบ
แบบแรกหน้ากากอนามัย มีขนาดเส้นใยมี่ขนาด 25-32 ไมครอน (um =ไมโครเมตร)
ระยะห่างระหว่างเส้นใย 80-150ไมครอน (um =ไมโครเมตร)
แบบสองน้ากาก N95 มีขนาดเส้นใยมี่ขนาด 16-18 ไมครอน (um =ไมโครเมตร)
ระยะห่างระหว่างเส้นใย 80-130 ไมครอน (um =ไมโครเมตร)
แบบสามหน้ากากผ้า มีขนาดเส้นใยมี่ขนาด 6-13 ไมครอน (um =ไมโครเมตร)
ระยะห่างระหว่างเส้นใย 10-15 ไมครอน (um =ไมโครเมตร)

page

ช่วงวิกฤตเช่นนี้ผู้เขียนขอให้ชาวไทย ชาวโลกทุกคนสามารถผ่าฟันวิกฤต Covid-19 และ
PM2.5 ไปได้ด้วยดี อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อครอบครัว ผู้เขียนรู้ว่ามันมีความยากลำบาก
มากมายไม่ว่าสภาพจิตใจ สภาพทางการเงิน การอยู่การกินลำบากไปหมด สภาพคล่อง
หายไป รายได้ไม่มี เงินเก็บไม่มี ที่กล่าวมาทั้งหมดผู้เขียนกำลังประสบเช่นกัน และผมหวัง
ว่าเดือนหน้า เราคงจะเห็นและหวังว่าวิกฤตจะผ่านพ้นไป ให้กำลังใจทุกท่านทุกคนครับ สู้ๆ
และปลอดภัยจากไวรัส Covid-19 ครับ

ขอขอบคุณมากๆ เพื่อนยอดชาย กฤตนัย EEC24 ที่มอบหน้ากาก N95 ให้เพื่อการเขียน
บทความครั้งนี้ด้วยนะครับ

 

เมล็ดกาแฟ Coffee bean

เมล็ดกาแฟ Coffee bean

เคยสงสัยครับว่ากาแฟที่เราดื่มกันทุกวัน ทำไมแต่ละร้านที่เราสั่งมารสชาติไม่เหมือนกัน หรือ
แม้แต่ร้านเดียวกันแต่เปลี่ยนคนชง รสสัมผัสก็จะเปลี่ยนไป องค์ประกอบในเรื่องรสชาติมีหลาก
หลายส่วนครับไม่ว่าเครื่องชง คนชง วัตถุดิบ สูตรฯลฯ เรามาดูเรื่องที่ผมสงสัยมากคือการใช้สัด
ส่วนของเมล็ดกาแฟ บางสูตรบางร้านจะใช้เมล็ดกาแฟหลายสายพันธ์ผสมกันเพื่อให้ได้รสชาติ
ตามต้องการ หรือบทความนี้จะมาดูเรื่องการคั่วเมล็ดกาแฟที่อุณภูมิแตกต่างกัน เราจะไม่เปิด
เผยอุณหภูมิในการคั่วเมล็ดกาแฟนะครับ บอกแค่คั่วไฟอ่อน กลาง มาไฟแก่เท่านั้นนะครับ

เป็นที่มาของ บทความนี้ว่าเราจะมาศึกษาทางกายภาพของเมล็ดกาแฟกันครับ รวมทั้งวิเคราะห์
ธาตุว่ามีองค์ประกอบธาตุอะไรอยู่บ้าง สัดส่วนเท่าไรกัน

ตามภาพเป็นเมล็ดกาแฟที่ผ่านการคั่วในระดับไฟแตกต่างกัน ไล่ตามลำดับไฟอ่อนมาไฟแก่
จากภาพเรียงจากด้านซ้ายไปขวา

เราจะนำเมล็ดกาแฟทั้งสามแบบมาถ่ายภาพด้านตัดขวาง ด้วยกล้องจุลทรรศน์ไมโครสโคป
(SEM)  เพื่อศึกษาทางกายภาพของเมล็ดกาแฟที่ผ่านการคั่วในระดับอุณภูมิแตกต่างกัน ว่า
โครงสร้างจะเปลี่ยนไปในรูปใดครับ

แบบแรกที่เราจะมาศึกษาด้วยกล้องจุลทรรศน์ไมโครสโคป(SEM) แบบคั่วด้วยไฟอ่อน
เมล็ดกาแฟคั่วไฟอ่อนถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์ไมโครสโคป(SEM) ด้วยโหมดความเป็นสูญญา
กาศต่ำ LV Mode ระดับความดัน 30พาสคาล (Pa.) 20kV สเกล 100ไมครอน ถ่ายที่กำลังขยาย
x200 เท่า

แบบแรกที่เราจะมาศึกษาด้วยกล้องจุลทรรศน์ไมโครสโคป(SEM) แบบคั่วด้วยไฟอ่อน
เมล็ดกาแฟคั่วไฟอ่อนถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์ไมโครสโคป(SEM) ด้วยโหมดความเป็นสูญญา
กาศต่ำ LV Mode ระดับความดัน 30พาสคาล (Pa.) 20kV สเกล 50ไมครอน ถ่ายที่กำลังขยาย
x500 เท่า

แบบแรกที่เราจะมาศึกษาด้วยกล้องจุลทรรศน์ไมโครสโคป(SEM) แบบคั่วด้วยไฟอ่อน
เมล็ดกาแฟคั่วไฟอ่อนถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์ไมโครสโคป(SEM) ด้วยโหมดความเป็นสูญญา
กาศสูง HV Mode ระดับความดัน 9.6X10-5พาสคาล (Pa.) 20kV สเกล 50ไมครอน ถ่ายที่กำลัง
ขยาย x500 เท่า ตัวอย่างนี้นำไปฉาบทองคำเพื่อให้นำไฟฟ้า และสามารถถ่ายภาพ
ในโหมดนี้ได้ครับ

แบบสองที่เราจะมาศึกษาด้วยกล้องจุลทรรศน์ไมโครสโคป(SEM) แบบคั่วด้วยไฟกลาง
เมล็ดกาแฟคั่วไฟกลางถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์ไมโครสโคป(SEM) ด้วยโหมดความเป็นสูญญา
กาศต่ำ LV Mode ระดับความดัน 30พาสคาล (Pa.) 20kV สเกล 100ไมครอน ถ่ายที่กำลังขยาย
x200 เท่า

แบบสองที่เราจะมาศึกษาด้วยกล้องจุลทรรศน์ไมโครสโคป(SEM) แบบคั่วด้วยไฟกลาง
เมล็ดกาแฟคั่วไฟกลางถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์ไมโครสโคป(SEM) ด้วยโหมดความเป็นสูญญา
กาศต่ำ LV Mode ระดับความดัน 30พาสคาล (Pa.) 20kV สเกล 50ไมครอน ถ่ายที่กำลังขยาย
x500 เท่า

แบบสองที่เราจะมาศึกษาด้วยกล้องจุลทรรศน์ไมโครสโคป(SEM) แบบคั่วด้วยไฟกลาง
เมล็ดกาแฟคั่วไฟกลางถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์ไมโครสโคป(SEM) ด้วยโหมดความเป็นสูญญา
กาศสูง HV Mode ระดับความดัน 9.6X10-5พาสคาล (Pa.) 20kV สเกล 50ไมครอน ถ่ายที่กำลัง
ขยาย x500 เท่า ตัวอย่างนี้นำไปฉาบทองคำเพื่อให้นำไฟฟ้า และสามารถถ่ายภาพ
ในโหมดนี้ได้ครับเราจะเริ่มเห็นรูพรุนมากขึ้น จากไฟอ่อนทางกายภาพผิวจะเรียบกว่าไฟกลางครับ

แบบสามที่เราจะมาศึกษาด้วยกล้องจุลทรรศน์ไมโครสโคป(SEM) แบบคั่วด้วยไฟแก่
เมล็ดกาแฟคั่วไฟแก่ ถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์ไมโครสโคป(SEM) ด้วยโหมดความเป็นสูญญา
กาศต่ำ LV Mode ระดับความดัน 30พาสคาล (Pa.) 20kV สเกล 100ไมครอน ถ่ายที่กำลังขยาย
x200 เท่า

ตามภาพที่กำลังขยาย x200 เราถ่ายด้วยตัวตรวจจับชนิด BEI COMPO ซึ่งจะแยกเฉดสีภาพ
ตาม Atomic No. หมายถึงหากบริเวณใดสีขาวมากกว่าอีกบริเวณ แสดงว่าบริเวณสีขาวจะมีเลข
อะตอมมากกว่าสีเทาหรือดำครับ เราจะไปวิเคราะห์ะธาตุดูกันอีกทีนะครับ ว่าคืออะไร

แบบสามที่เราจะมาศึกษาด้วยกล้องจุลทรรศน์ไมโครสโคป(SEM) แบบคั่วด้วยไฟแก่
เมล็ดกาแฟคั่วไฟแก่ ถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์ไมโครสโคป(SEM) ด้วยโหมดความเป็นสูญญา
กาศต่ำ LV Mode ระดับความดัน 30พาสคาล (Pa.) 20kV สเกล 50ไมครอน ถ่ายที่กำลังขยาย
x500 เท่า

แบบสามที่เราจะมาศึกษาด้วยกล้องจุลทรรศน์ไมโครสโคป(SEM) แบบคั่วด้วยไฟแก่
เมล็ดกาแฟคั่วไฟแก่ ถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์ไมโครสโคป(SEM) ด้วยโหมดความเป็นสูญญา
กาศสูง HV Mode ระดับความดัน 9.6X10-5พาสคาล (Pa.) 20kV สเกล 50ไมครอน ถ่ายที่กำลัง
ขยาย x500 เท่า ตัวอย่างนี้นำไปฉาบทองคำเพื่อให้นำไฟฟ้า และสามารถถ่ายภาพ
ในโหมดนี้ได้ครับ

เราจะพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพไฟอ่อนจะผิวเรียบสุด ส่วนไฟกลางจะเห็นความพรุน
ของผนังเซลล์เมล็ดกาแฟ ส่วนไฟแก่ผนังเซลล์จะขยายกว้างสุดและมีกลุ่มเม็ดเล็กๆสีขาวเพิ่ม
ขึ้นมา และเราจะมาวิเคราะห์ต่อว่ามันคืออะไรกัน

เราจะวิเคราะห์ธาตุด้วยเครื่อง EDS กันต่อนะครับ ตามภาพเราจะวิเคราะห์ 2 ตำแหน่ง ตามภาพ
ตำแหน่ง 1 จะวิเคราะห์จุดที่เป็นสีขาว กับจุด 2 เป็นเนื้อเมล็ดกาแฟที่เป็นผิวส่วนมากของเมล็ด
กาแฟ

ตามภาพล่างเป็นผลจากตำแหน่ง 1 วิเคราะห์เชิงคุณภาพจาก EDS Energy Dispersive X-ray
จะพบว่ามีธาตุC คาร์บอน,O ออกซิเจน,Mg แมกนีเซียม,P ฟอสฟอรัส,S ซัลเฟอร์(กำมะถัน),
K โปแตสเซียม,Ca แคลเซียม และ Cu ทองแดง เป็นต้น

ตามภาพล่างเป็นผลจากตำแหน่ง 1 วิเคราะห์เชิงปริมาณจาก EDS Energy Dispersive X-rayจะพบว่ามีธาตุC คาร์บอน 54.52%, O ออกซิเจน 29.03% , Mg แมกนีเซียม 1.58% ,P ฟอสฟอรัส
4.36% ,S ซัลเฟอร์(กำมะถัน) 0.16% ,K โปแตสเซียม 4.63% ,Ca แคลเซียม 5.15% และ
Cu ทองแดง 0.56% เป็นต้น

ตามภาพล่างเป็นผลจากตำแหน่ง 2 วิเคราะห์เชิงคุณภาพจาก EDS Energy Dispersive X-ray
จะพบว่ามีธาตุC คาร์บอน,O ออกซิเจน,Mg แมกนีเซียม,P ฟอสฟอรัส,S ซัลเฟอร์(กำมะถัน),
K โปแตสเซียม,Ca แคลเซียม และ Cu ทองแดง เป็นต้น

หากเราสังเกตุดูที่พีคจะพบว่าปริมาณของ Mg แมกนีเซียม , P ฟอสฟอรัส และ Ca แคลเซียม
มีปริมาณลดลง ลดลงเท่าไรเราไปดูเชิงปริมาณกันต่อครับ

ตามภาพล่างเป็นผลจากตำแหน่ง 2 วิเคราะห์เชิงปริมาณจาก EDS Energy Dispersive X-ray
จะพบว่ามีธาตุC คาร์บอน 70.55%, O ออกซิเจน 24.42% , Mg แมกนีเซียม 0.32% ,P ฟอสฟอรัส
0.21% ,S ซัลเฟอร์(กำมะถัน) 0.26% ,K โปแตสเซียม 3.44% ,Ca แคลเซียม 0.17% และ
Cu ทองแดง 0.64% เป็นต้น

เพื่อเป็นการยืนยันผลวิเคราะห์ เราได้วิเคราะห์การกระจายตัวของธาตุ Mapping  ตามภาพล่าง
กันต่อ เราจะพบว่าเม็ดที่เราเห็นเป็นก้อนเล็กๆมีทั่วๆไป จะเป็น Mg แมกนีเซียม ,P ฟอสฟอรัส
,K โปแตสเซียม , และ Ca แคลเซียม เป็นส่วนใหญ่ ที่เหลือจะเป็น Cคาร์บอน, Oออกซิเจน และ
S ซัลเฟอร์ (กำมะถัน) การใช้ไฟแรงคั่วเท่านั้นถึงจะมองเห็นได้ทางกายภาพ

หลังจากเราใช้เทคนิค SEM/EDS วิเคราะห์เมล็ดกาแฟ เราจะพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงทางกาย
ภาพไฟอ่อนจะผิวเรียบสุด ส่วนไฟกลางจะเห็นความพรุนของผนังเซลล์เมล็ดกาแฟ ส่วนไฟแก่
ผนังเซลล์จะขยายกว้างสุดและมีกลุ่มเม็ดเล็กๆสีขาวเพิ่มขึ้นมา ซึ่งก็จะเป็นMg แมกนีเซียม ,
P ฟอสฟอรัส,K โปแตสเซียม , และ Ca แคลเซียม เป็นส่วนใหญ่ การทดลองนี้ไม่ได้ทดลองซ้ำ
ผลการวิเคราะห์อาจมีความคาดเคลื่อนได้ครับ

ผมไม่ใช่ผู้สันทัดด้านกาแฟ ใครมีอะไรเพิ่มเติม ส่งมาให้ได้ตามรายละเอียดด้านล่างนะครับ ผม
อยากได้เมล็ดกาแฟที่ยังไม่คั่วครับ เพื่อมาถ่ายภาพแต่หายังไม่ได้ครับ

สุดท้ายขอบคุณน้องๆทีมงาน Do SEM ที่ให้ Mr.Golf (สิงห์เฒ่าซ่อมเซ็ม) มีโอกาส
นำความรู้อันน้อยนิด มาแชร์ครับ ขอบคุณครับ 
น้อมรับทุกคำชี้แนะครับ Mr.Golf
(สิงห์เฒ่าซ่อมเซ็ม)
 manatsanan2007@hotmail.com ติดตามเป็นเพื่อนผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์ค
ามลิงค์ด้านล่างเลยครับ 

PM 2.5 (Particulate Matter) วิเคราะห์ฝุ่นด้วยเครื่อง SEM และ EDS

PM 2.5 (Particulate Matter) วิเคราะห์ฝุ่นด้วยเครื่อง SEM และ EDS

***บทความนี้เก็บตัวอย่างเพื่อการวิเคราะห์เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2562 ณ. อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี

PM2.5 (Particulate Matter)คืออะไร เป็นคำถามที่ทุกคนถามกัน มันอันตรายไหม มันมีพิษไหม รูปร่าง
เป็นแบบใหน ขนาดเท่าไรเราสูดเข้าไปทางลมหายใจจะเกิดอะไรขึ้นไหม เป็นคำถามที่น้องเบนโจถาม
เช่นกัน เพื่อหาคำตอบให้น้องเราก็จะมาทำการทดลอง และเก็บตัวอย่างมาพิสูจน์กันพร้อมๆกับน้องเบนโจ
นะครับ (ปัจจุบันน้องเบนโจเรียนอยู่ชั้น ป.3)

PM2.5 คือ ฝุ่นละอองขนาดเล็กเท่ากับและเล็กกว่า 2.5 ไมครอน(ไมครอน หรือไมโครเมตร) คือมลพิษฝุ่น
ที่มีขนาดเล็กมากหากเทียบหน่วยกับมิลลิเมตร 2.5ไมครอนจะมีขนาด 0.0025 มิลลิเมตร (1มิลลิเมตร=1000
ไมครอน)เล็กจนสามารถเล็ดลอดขนจมูกเข้าสู่ร่างกายได้ เล็กขนาดไหนหากเทียบกับเส้นผมของเด็กอายุไม่
เกิน 3 ขวบแล้วจะมีขนาดประมาณ 1/14 ของขนาดเส้นผมเด็กครับ และมีขนาดเพียงครึ่งหนึ่งของขนาดเม็ด
เลือดที่มีขนาดประมาณ 5ไมครอน ดังนั้นฝุ่นพิษจึงสามารถเข้าสู่เส้นเลือดฝอยและกระจายไปตามอวัยวะได้
ฝุ่นมีลักษณะที่ขรุขระก็มีเรียบก็มีหลายรูปร่าง ฝุ่นเป็นพาหะนำสารอื่นเข้ามาด้วย เช่นเหล็ก อลูมิเนียม ซิลิกอน
ซัลเฟอร์ แคดเมียม ปรอท ไททาเนียม ไฮโดรคาร์บอน โลหะหนักต่างๆและสารก่อมะเร็งอื่นๆจำนวนมาก

ตัวอย่างบทความเส้นผม เส้นขนจมูกคลิก จะมีขนาดเส้นผมที่เล็กมากเป็นไมครอนให้ศึกษากันครับ

การเก็บตัวอย่างฝุ่นเพื่อศึกษาในครั้งนี้ น้องเบนโจ ใช้วิธีการเก็บฝุ่นแบบฝุ่นตกค้างกับใบไม้ ไม่ใช้วิธีเก็บ
โดยตรงจากอากาศดูดผ่านใส้กรองซึ่งจะเป็นวิธีที่ยากไปกับน้องเบนโจ(ป.3) โดยจะเก็บฝุ่นที่ฟุ้งในอากาศ
อาศัยแรงโน้มถ่วงของโลกแล้วตกใส่และค้างอยู่บนใบไม้แทน ส่วนหนึ่งน้องเบนโจได้ดูรายการทีวีเรื่องฝุ่น
ที่ได้บอกไว้ว่า ใบไม้ชนิดใบมีขนจะเก็บฝุ่นได้ดีกว่าใบเรียบ ซึ่งเราพิสูจน์ไว้แล้วในตอนท้ายของบทความ
ว่าเป็นไปตามที่น้องรับข้อมุลมาไหม จริงหรือไม่น้องเบนโจจะมาพิสูจน์ให้ทราบกันครับ

ด้วยความอยากรู้เรื่องฝุ่น เรื่องใบไม้ชนิดใดเก็บฝุ่นได้ดีกว่าทำให้น้องต้องเก็บตัวอย่างใบไม้มาหลากหลาย
มาก มากเกินกว่าเราจะวิเคราะห์เสร็จภายใน 1 วัน เราจึงให้น้องเลือกออกมาว่าให้มี ใบมีขนเยอะๆและใบ
แบบเรียบๆ มาอย่างละ3ชนิดพอ

เครื่องมือที่ใช้เพื่อศึกษาเรื่องฝุ่นน้องจะใช้ 3แบบครับ 1.แว่นขยายทั่วไป สนนราคาหลักสิบไปหลักร้อยบาท
2.กล้องจุลทรรศน์ไมโครสโคปแบบใช้แสง สนนราคาหลักพันไปหลายแสน และสุดท้าย 3.กล้องจุลทรรศน์
อิเล็กตรอนไมโครสโคปแบบส่องกราด ราคาหลักหลายล้านไปหลายสิบล้านครับ

ก่อนจะเก็บตัวอย่างเราจะรดน้ำให้ชุ่มที่ใบกับต้นที่เราจะเก็บใบ หลังรดทิ้งไว้ประมาณ3ชั่วโมง เสร็จแล้วค่อย
มาเด็ดใบเพื่อไปศึกษา การเก็บจะเก็บใบที่อยู่สูงจากพื้นประมาณ 1.4-1.6 เมตรสูงจากพื้นดิน ความสูง
ประมาณความสูงของจมูกของคนเรา พื้นที่ที่เราเก็บตัวอย่าง หมู่.2 ต.คลองสาม อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี
ห่างจากถนนเลียบคลองสาม 500เมตรเข้ามาในหมู่บ้าน และไม่อยู่ใกล้ถนนหลัก แต่ละต้นที่เก็บตัวอย่าง
ห่างกันประมาณ 10 เมตรแต่ละต้น (เก็บตัวอย่าง 26 มกราคม 2562)

ช่วงที่น้องเบนโจเก็บตัวอย่าง จะใช้แว่นขยายส่อง เพื่อเช็คว่าใบไม้แบบใดเรียบ แบบใดมีขน อีกวิธีหนึ่ง
ที่น้องใช้ คือการใช้มือสัมผัสใบไม้ดู หากเจอใบใหนลื่นๆใบใม้นั้นแสดงว่าเป็นใบเรียบ ใบใหนรู้สึกสากๆ
แสดงว่าใบนั้นมีขน น้องเบนโจก็เลือกออกได้ทั้งหมด 6 ชนิด โดยแบบสาก/มีขน 1.เครา/หนวดฤาษี
2.ใบหม่อน 3.ใบไผ่ แบบใบเรียบก็จะมี 1.ใบเฟริน์ 2.ใบไทรเกาหลี 3.ใบโมก

หลังเก็บตัวอย่างมา สองศรีพี่น้องช่วยกันบันทึกภาพตำแหน่งที่จะศึกษา น้องจะภูมิใจมากที่ได้สอนพี่ใช้
กล้อง โดยใช้กล้องจุลทรรศน์ไมโครสโคปแบบใช้แสงในการเก็บภาพเหมือนจริงที่กำลังขยาย 50เท่า
ภาพที่ได้กับกล้องชนิดนี้จะเป็นสี ส่วนภาพที่ได้จากกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคปแบบส่องกราด
(SEM) จะเป็นภาพขาวดำซึ่งจะถ่ายหลังจากเตรียมตัวอย่างขั้นตอนต่อไปนี้

การเตรียมตัวอย่างเพื่อดู SEM และวิเคราะห์ธาตุ EDS
การเตรียมตัวอย่างเราจะตัดใบไม้แต่ละชนิดให้มีขนาด 0.8×0.8เซ็นติเมตร ติดลงบนแท่นวางตัวอย่าง (Stub)
ตามภาพล่าง ซึ่งจะมี2แบบ Stubแบบพลาสติกเราจะเอาไว้ถ่ายโหมด LV ส่วนที่ติด Stubทองเหลืองและฉาบ
ทองเราจะไว้ดูในโหมด HV ตัวอย่างแถวล่างจะเป็นตัวอย่างที่เราฉาบทองแล้ว ฉาบเพื่อให้นำไฟฟ้า
หลักการทำงานของกล้อง SEMและเครื่องวิเคราะห์ธาตุ EDS คลิก เพื่อศึกษาต่อได้ครับ

เครื่องฉาบทองคำให้กับตัวอย่าง

เพื่อความกระชับและสั้นของเนื้อหา ผมจะเรียงข้อมูลภาพที่ได้จากกล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสงก่อน ตามด้วย
ภาพจากกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคปแบบส่องกราด SEM เพื่อศึกษาทางกายภาพ และวัดขนาด
ของฝุ่น และตามด้วยผลวิเคราะห์ธาตุของฝุ่น เครื่องสามารถวิเคราะห์ธาตุออกมาได้ตั้งแต่ C คาร์บอน ถึง U
ยูเรเนียมตามตารางธาตุ การวิเคราะห์ธาตุเราจะไม่ได้ทำทุกตัวอย่างเราจะเลือกมาประมาณ 3 ตำแหน่ง และ
ตำแหน่งไม่มีฝุ่นอีก 1 ตัวอย่างที่เราเลือกมาในการวิเคราะห์หาธาตุ โลหะหนัก เราจะใช้ตัวอย่างใบไผ่
ใบไทรเกาหลี และใบโมกครับ

หลังเตรียมตัวอย่างเพื่อถ่ายกล้องเสร็จ น้องเบนโจขอใส่ตัวอย่างด้วยตัวเอง กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนฯ
จะทำงานภายใต้สูญญากาศ น้องกดEVACเพื่อให้กล้องเป็นสูญญากาศ (Vaccuum) รอจนบรรยากาศอยู่ใน
ระดับ 9.6×10-5 ปาสคาล(Pa)ก็พร้อมใช้งานละครับ

เรามาเริ่มวิเคราะห์กับนักวิทยาศาสตร์ตัวน้อยเบนโจได้แล้วครับ ทักษะน้องเบนโจดีมากสำหรับการปรับโฟกัส
ปรับความชัด ความสว่าง ความเข้มของภาพ เลือกตำแหน่ง และถ่ายภาพด้วยกล้องประเภทนี้ การวิเคราะห์
ธาตุยังต้องคอยแนะคอยบอกครับ ดีมากในที่นี้คือดีสำหรับเด็กป.3นะครับ

พร้อมแล้วเรามาเริ่มวิเคราะห์ไปทีละตัวอย่างใบไม้ไปกับน้องเบนโจกันครับ

1.ใบเครา/หนวดฤาษี
เครา/หนวดฤาษี ถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์ไมโครสโคปแบบใช้แสง ตัวอย่างแบบมีขน

ภาพล่าง ภาพถ่ายเครา/หนวดฤาษีด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคป SEM ที่กำลังขยาย 35เท่า
ดูภาพรวมสเกลของภาพอยู่ที่ 500ไมครอน กำลังขยายขนาดนี้ยังไม่สามารถมองเห็นฝุ่นขนาด 2.5ไมครอน
ได้

ภาพล่าง ภาพถ่ายเครา/หนวดฤาษีด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคป SEM ที่กำลังขยาย 200เท่า
สเกลของภาพอยู่ที่ 100ไมครอน กำลังขยายขนาดนี้เริ่มสามารถมองเห็นฝุ่นขนาด 2.5ไมครอนได้บ้างแล้ว
ครับ

ภาพล่าง ภาพถ่ายเครา/หนวดฤาษีด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคป SEM ที่กำลังขยาย 200เท่า
สเกลของภาพอยู่ที่ 100ไมครอน เปลี่ยนโหมดเป็น BEI เพื่อให้สามารถมองฝุ่นได้เด่นขึ้น โหมดนี้บริเวณใด
มีเม็ดๆสีขาวๆส่วนใหญ่จะเป็นฝุ่นครับ และเป็นโลหะหนักด้วยนะ ต้องวิเคราะห์EDSต่อจึงจะทราบว่าเป็นอะไร

ภาพล่าง ภาพถ่ายเครา/หนวดฤาษีด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคป SEMที่กำลังขยาย3500เท่า
สเกลของภาพอยู่ที่ 5ไมครอน กำลังขยายขนาดนี้เริ่มสามารถมองเห็นฝุ่นขนาด 2.5ไมครอนชัดมาก และ
สามารถวัดขนาดฝุ่นได้ เบนโจขอจับเมาท์วัดขนาดก่อนเลยตำแหน่งนี้ วัดขนาดฝุ่นออกมาได้ขนาดเล็กสุด
0.451 ไมครอน (451นาโนเมตร) ถึง 2.48 ไมครอน แสดงเล็กกว่า 2.5ไมครอน หรือตามภาพจะมีสเกลที่มี
ความยาวอยู่ 5ไมครอน สามารถเอาสเกลนี้เทียบฝุ่นได้โดยประมาณได้เลยครับ

2.ใบหม่อน
ใบหม่อน ถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์ไมโครสโคปแบบใช้แสง ตัวอย่างแบบมีขน

ภาพล่าง ภาพถ่ายใบหม่อน ด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคป SEM ที่กำลังขยาย 35เท่า
ดูภาพรวมสเกลของภาพอยู่ที่ 500ไมครอน กำลังขยายขนาดนี้ยังไม่สามารถมองเห็นฝุ่นขนาด 2.5ไมครอน
ได้แต่เริ่มเห็นฝุ่นที่ยังไม่ทราบขนาดได้ แต่เราสามารถเทียบสเกล 500ไมครอนในภาพได้ครับ ฝุ่นดูจะมาก
กว่าที่เจอกับเครา/หนวดฤาษีที่กำลังขยายภาพเท่ากันครับ

ภาพล่าง ภาพถ่ายใบหม่อน ด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคป SEM ที่กำลังขยาย 200เท่า
สเกลของภาพอยู่ที่ 100ไมครอน กำลังขยายขนาดนี้เริ่มสามารถมองเห็นฝุ่นขนาด 2.5ไมครอนได้บ้างแล้ว
ครับ

ภาพล่าง ภาพถ่ายใบหม่อน ด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคป SEM ที่กำลังขยาย 200เท่า
สเกลของภาพอยู่ที่ 100ไมครอน เปลี่ยนโหมดเป็น BEI เพื่อให้สามารถมองฝุ่นได้เด่นขึ้น โหมดนี้บริเวณใด
มีเม็ดๆสีขาวๆส่วนใหญ่จะเป็นฝุ่นครับ และเป็นโลหะหนักด้วยนะ ต้องวิเคราะห์EDSต่อจึงจะทราบว่าเป็นอะไร

ภาพล่าง ภาพถ่ายใบหม่อน ด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคป SEMที่กำลังขยาย3500เท่า
สเกลของภาพอยู่ที่ 5ไมครอน กำลังขยายขนาดนี้เริ่มสามารถมองเห็นฝุ่นขนาด 2.5ไมครอนชัดมาก และ
สามารถวัดขนาดฝุ่นได้  วัดขนาดฝุ่นออกมาได้ขนาดเล็กสุด 0.575 ไมครอน (575นาโนเมตร) ถึง 4.05
ไมครอน แสดงว่ามีขนาดเล็กกว่า 2.5ไมครอนและใหญ่กว่า หรือตามภาพจะมีสเกลที่มีความยาวอยู่ 5
ไมครอน สามารถเอาสเกลนี้เทียบฝุ่นได้โดยประมาณได้เลยครับ

3.ใบไผ่
ใบไผ่ ถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์ไมโครสโคปแบบใช้แสง ตัวอย่างแบบมีขน

ภาพล่าง ภาพถ่ายใบไผ่ ด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคป SEM ที่กำลังขยาย 35เท่า
ดูภาพรวมสเกลของภาพอยู่ที่ 500ไมครอน กำลังขยายขนาดนี้ยังไม่สามารถมองเห็นฝุ่นขนาด 2.5ไมครอน
ได้แต่เริ่มเห็นฝุ่นที่ยังไม่ทราบขนาดได้ แต่เราสามารถเทียบสเกล 500ไมครอนในภาพได้ครับ ฝุ่นดูจะมาก
กว่าที่เจอกับเครา/หนวดฤาษี ใกล้เคียงกับใบหม่อนที่กำลังขยายภาพเท่ากันครับ

ภาพล่าง ภาพถ่ายใบไผ่ด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคป SEM ที่กำลังขยาย 200เท่า
สเกลของภาพอยู่ที่ 100ไมครอน กำลังขยายขนาดนี้เริ่มสามารถมองเห็นฝุ่นขนาด 2.5ไมครอนได้บ้างแล้ว
ครับ สังเกตุว่าใบไผ่สามารถดักฝุ่นที่มีขนาดใหญ่ช่วง 30-50ไมครอนได้เยอะ

ภาพล่าง ภาพถ่ายใบไผ่ ด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคป SEM ที่กำลังขยาย 200เท่า
สเกลของภาพอยู่ที่ 100ไมครอน เปลี่ยนโหมดเป็น BEI เพื่อให้สามารถมองฝุ่นได้เด่นขึ้น โหมดนี้บริเวณใด
มีเม็ดๆสีขาวๆส่วนใหญ่จะเป็นฝุ่นครับ และเป็นโลหะหนักด้วยนะ ต้องวิเคราะห์EDSต่อจึงจะทราบว่าเป็นอะไร

ภาพล่าง ภาพถ่ายใบไผ่ ด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคป SEMที่กำลังขยาย3500เท่า
สเกลของภาพอยู่ที่ 5ไมครอน กำลังขยายขนาดนี้เริ่มสามารถมองเห็นฝุ่นขนาด 2.5ไมครอนชัดมาก และ
สามารถวัดขนาดฝุ่นได้  วัดขนาดฝุ่นออกมาได้ขนาดเล็กสุด 0.755 ไมครอน (755นาโนเมตร) ถึง 16.30
ไมครอน แสดงว่ามีขนาดเล็กกว่า 2.5ไมครอนและใหญ่กว่า หรือตามภาพจะมีสเกลที่มีความยาวอยู่ 5
ไมครอน สามารถเอาสเกลนี้เทียบฝุ่นได้โดยประมาณได้เลยครับ

ตัวอย่างใบไผ่นี้ เราจะทำการวิเคราะห์ธาตุฝุ่นที่จับใบเพิ่มเติม ตำแหน่งวิเคราะห์ตามลูกศรสีแดงภาพล่างครับ

ผลการวิเคราะห์ธาตุของฝุ่นที่จับใบไผ่ วิเคราะห์เชิงปริมาณ(Wt%) เชิงคุณภาพ (กราฟ)
จะมีธาตุประกอบด้วยWt%ต่างๆดังนี้ C คาร์บอน 19.69%, O ออกซิเจน 49.85%, Mg แมกนีเซียม 0.27%
, Al อลูมิเนียม 7.10%, Si ซิลิกอน 16.37,Cl ครอรีน 0.15%, K โปแตสเซียม 1.08%, Ca แคลเซียม 0.65
%, Ti ไททาเนียม 0.29%, Fe เหล็ก 2.25%, Cu ทองแดง 1.55%, Zn สังกะสี 0.80% เป็นต้น นี้คือส่วน
ประกอบของฝุ่นก้อนเดียว


ผลวิเคราะห์เชิงปริมาณในรูปแบบ Compound% (Oxide) การอ่านผลตามผลด้านล่างจะมี Al2O3 หรือ
อลิมิเนียมออกไซด์อยู่ 16.44% ,SiO2 ซิลิกอนออกไซด์ 43.31, Fe2O3 เหล็กออกไซด์ 3.91% เป็นต้น


4.ใบเฟริน์
ใบเฟริน์ ถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์ไมโครสโคปแบบใช้แสง ตัวอย่างแบบเรียบ

ภาพล่าง ภาพถ่ายใบเฟริน์ ด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคป SEM ที่กำลังขยาย 35เท่า
ดูภาพรวมสเกลของภาพอยู่ที่ 500ไมครอน กำลังขยายขนาดนี้ยังไม่สามารถมองเห็นฝุ่นขนาด 2.5ไมครอน
ได้แต่เริ่มเห็นฝุ่นที่ยังไม่ทราบขนาดได้ แต่เราสามารถเทียบสเกล 500ไมครอนในภาพได้ครับ ฝุ่นดูจะมาก
กว่าที่เจอกับเครา/หนวดฤาษี แต่จะดูน้อยกว่าใบหม่อน กับใบไผ่ที่กำลังขยายภาพเท่ากันครับ

ภาพล่าง ภาพถ่ายใบเฟริน์ ด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคป SEM ที่กำลังขยาย 200เท่า
สเกลของภาพอยู่ที่ 100ไมครอน กำลังขยายขนาดนี้เริ่มสามารถมองเห็นฝุ่นขนาด 2.5ไมครอนได้บ้างแล้ว
ครับ

ภาพล่าง ภาพถ่ายใบเฟริน์ ด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคป SEM ที่กำลังขยาย 200เท่า
สเกลของภาพอยู่ที่ 100ไมครอน เปลี่ยนโหมดเป็น BEI เพื่อให้สามารถมองฝุ่นได้เด่นขึ้น โหมดนี้บริเวณใด
มีเม็ดๆสีขาวๆส่วนใหญ่จะเป็นฝุ่นครับ และเป็นโลหะหนักด้วยนะ ต้องวิเคราะห์EDSต่อจึงจะทราบว่าเป็นอะไร

ภาพล่าง ภาพถ่ายใบเฟริน์ ด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคป SEMที่กำลังขยาย3500เท่า
สเกลของภาพอยู่ที่ 5ไมครอน กำลังขยายขนาดนี้เริ่มสามารถมองเห็นฝุ่นขนาด 2.5ไมครอนชัดมาก และ
สามารถวัดขนาดฝุ่นได้  วัดขนาดฝุ่นออกมาได้ขนาดเล็กสุด 0.315 ไมครอน (315นาโนเมตร) ถึง 3.92
ไมครอน แสดงว่ามีขนาดเล็กกว่า 2.5ไมครอนและใหญ่กว่า หรือตามภาพจะมีสเกลที่มีความยาวอยู่ 5
ไมครอน สามารถเอาสเกลนี้เทียบฝุ่นได้โดยประมาณได้เลยครับ สำหรับตัวอย่างนี้ขนาดฝุ่นที่มีขนาดนาโน
เป็นจำนวนมากวิเคราะห์ EDS จะเป็นจะเป็นจำพวก Ca แคลเซียม, O ออกซิเจน หรือแคลเซียมออกไซด์
CaO

เป็นไงบ้างครับผ่านมา 4ตัวอย่าง มีฝุ่นขนาด 2.5ไมครอนเยอะเลยทั้งที่สถานที่เก็บใบไม้ที่เก็บตัวอย่าง รดน้ำ
ให้ชุ่มก่อนเก็บตัวอย่างทิ้งไว้ 3ชั่วโมงหลังรด แล้วเด็ดใบมาตรวจสอบ นี้ถ้าหากไม่รดน้ำฉีดน้ำก่อน นึกภาพ
ไม่ออกเลยว่ามันจะเยอะขนาดใหน อีกอย่างเก็บตัวอย่างวันที่ 26 ม.ค แต่ฝุ่นมาเยอะแถวนี้วันที่ 30-31ม.ค

5.ใบไทรเกาหลี
ใบไทรเกาหลี ถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์ไมโครสโคปแบบใช้แสง ตัวอย่างแบบเรียบ

ภาพล่าง ภาพถ่ายใบไทรเกาหลี ด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคป SEM ที่กำลังขยาย 35เท่า
ดูภาพรวมสเกลของภาพอยู่ที่ 500ไมครอน กำลังขยายขนาดนี้ยังไม่สามารถมองเห็นฝุ่นขนาด 2.5ไมครอน
ได้แต่เริ่มเห็นฝุ่นที่ยังไม่ทราบขนาดได้ แต่เราสามารถเทียบสเกล 500ไมครอนในภาพได้ครับ ฝุ่นดูจะมาก
กว่าที่เจอกับเครา/หนวดฤาษี มากกว่าใบหม่อน มากกว่าใบไผ่ที่กำลังขยายภาพเท่ากันครับ

ภาพล่าง ภาพถ่ายใบไทรเกาหลี ด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคป SEM ที่กำลังขยาย 200เท่า
สเกลของภาพอยู่ที่ 100ไมครอน กำลังขยายขนาดนี้เริ่มสามารถมองเห็นฝุ่นขนาด 2.5ไมครอนได้บ้างแล้ว
ครับ ฝุ่นขนาดใหญ่และเล็กเยอะมาก

ภาพล่าง ภาพถ่ายใบไทรเกาหลี ด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคป SEM ที่กำลังขยาย 200เท่า
สเกลของภาพอยู่ที่ 100ไมครอน เปลี่ยนโหมดเป็น BEI เพื่อให้สามารถมองฝุ่นได้เด่นขึ้น โหมดนี้บริเวณใด
มีเม็ดๆสีขาวๆส่วนใหญ่จะเป็นฝุ่นครับ และเป็นโลหะหนักด้วยนะ ต้องวิเคราะห์EDSต่อจึงจะทราบว่าเป็นอะไร

ภาพล่าง ภาพถ่ายใบไทรเกาหลี ด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคป SEMที่กำลังขยาย3500เท่า
สเกลของภาพอยู่ที่ 5ไมครอน กำลังขยายขนาดนี้เริ่มสามารถมองเห็นฝุ่นขนาด 2.5ไมครอนชัดมาก และ
สามารถวัดขนาดฝุ่นได้  วัดขนาดฝุ่นออกมาได้ขนาดเล็กสุด 0.365 ไมครอน (365 นาโนเมตร) ถึง 16.28
ไมครอน แสดงว่ามีขนาดเล็กกว่า 2.5ไมครอนและใหญ่กว่า หรือตามภาพจะมีสเกลที่มีความยาวอยู่ 5
ไมครอน สามารถเอาสเกลนี้เทียบฝุ่นได้โดยประมาณได้เลยครับ

ตัวอย่างใบไทรเกาหลีนี้ เราจะทำการวิเคราะห์ธาตุฝุ่นที่จับใบเพิ่มเติม ตำแหน่งวิเคราะห์ตามลูกศรสีแดง
ภาพล่างครับ

ผลการวิเคราะห์ธาตุของฝุ่นที่จับใบไผ่ วิเคราะห์เชิงปริมาณ(Wt%) เชิงคุณภาพ (กราฟ)
จะมีธาตุประกอบด้วยWt%ต่างๆดังนี้ C คาร์บอน 21.83%, O ออกซิเจน 37.85%, Mg แมกนีเซียม 0.37%
, Al อลูมิเนียม 7.08%, Si ซิลิกอน 16.21,Cl ครอรีน 1.21%, K โปแตสเซียม 1.34%, Ca แคลเซียม 1.35
%, Ti ไททาเนียม 1.64%, Fe เหล็ก 5.88%, ไม่มีCu ทองแดง ,และ Zn สังกะสี  เป็นต้น นี้คือส่วน
ประกอบของฝุ่นก้อนเดียว ตัวอย่างนี้โลหะหนักจะมีมากเช่นหล็ก

ผลวิเคราะห์เชิงปริมาณในรูปแบบ Compound% (Oxide) การอ่านผลตามผลด้านล่างจะมี Al2O3 หรือ
อลิมิเนียมออกไซด์อยู่ 13.50% ,SiO2 ซิลิกอนออกไซด์ 36.92, Fe2O3 เหล็กออกไซด์ 8.10% เป็นต้น

ตัวอย่างนี้เราได้วิเคราะห์ฝุ่นไปแล้ว เราจะวิเคราะห์เฉพาะใบแบบไม่เอาฝุ่นดูบ้างนะครับ ว่ามีส่วนผสมอะไร
บ้าง ตำแหน่งจะวิเคราะห์ตามลูกศรสีแดง

ผลวิเคราะห์ใบไทรเกาหลีแบบไม่เอาฝุ่น ผลที่ได้C คาร์บอน 51.63%, O ออกซิเจน 42.96%,
Si ซิลิกอน 3.91, K โปแตสเซียม 0.56%, Ca แคลเซียม 0.93% โลหะหนักไม่มีเลยครับ

ผลวิเคราะห์เชิงปริมาณในรูปแบบ Compound% (Oxide) การอ่านผลตามผลด้านล่างจะมี CO2 หรือ
คารืบอนไดออกไซด์อยู่ 95.10% ,SiO2 ซิลิกอนออกไซด์ 4.02% เป็นต้น


มาตัวอย่างสุดท้ายที่น้องเบนโจจะพาวิเคราะห์กันแล้วครับ
6.ใบโมก
ใบโมก ถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์ไมโครสโคปแบบใช้แสง ตัวอย่างแบบเรียบ

ภาพล่าง ภาพถ่ายใบโมก ด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคป SEM ที่กำลังขยาย 35เท่า
ดูภาพรวมสเกลของภาพอยู่ที่ 500ไมครอน กำลังขยายขนาดนี้ยังไม่สามารถมองเห็นฝุ่นขนาด 2.5ไมครอน
ได้แต่เริ่มเห็นฝุ่นที่ยังไม่ทราบขนาดได้ แต่เราสามารถเทียบสเกล 500ไมครอนในภาพได้ครับ ฝุ่นดูจะมาก
กว่าที่เจอกับเครา/หนวดฤาษี มากกว่าใบหม่อน มากกว่าใบไผ่ที่กำลังขยายภาพเท่ากันครับ

ภาพล่าง ภาพถ่ายใบโมก ด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคป SEM ที่กำลังขยาย 200เท่า
สเกลของภาพอยู่ที่ 100ไมครอน กำลังขยายขนาดนี้เริ่มสามารถมองเห็นฝุ่นขนาด 2.5ไมครอนได้บ้างแล้ว
ครับ ฝุ่นขนาดใหญ่และเล็กพอสมควรจำนวนน้อยกว่าจากใบไทรเกาหลี

ภาพล่าง ภาพถ่ายใบโมก ด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคป SEM ที่กำลังขยาย 200เท่า
สเกลของภาพอยู่ที่ 100ไมครอน เปลี่ยนโหมดเป็น BEI เพื่อให้สามารถมองฝุ่นได้เด่นขึ้น โหมดนี้บริเวณใด
มีเม็ดๆสีขาวๆส่วนใหญ่จะเป็นฝุ่นครับ และเป็นโลหะหนักด้วยนะ ต้องวิเคราะห์EDSต่อจึงจะทราบว่าเป็นอะไร

ภาพล่าง ภาพถ่ายใบโมก ด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคป SEMที่กำลังขยาย3500เท่า
สเกลของภาพอยู่ที่ 5ไมครอน กำลังขยายขนาดนี้เริ่มสามารถมองเห็นฝุ่นขนาด 2.5ไมครอนชัดมาก และ
สามารถวัดขนาดฝุ่นได้  วัดขนาดฝุ่นออกมาได้ขนาดเล็กสุด 0.573ไมครอน (573 นาโนเมตร) ถึง 12.40
ไมครอน แสดงว่ามีขนาดเล็กกว่า 2.5ไมครอนและใหญ่กว่า หรือตามภาพจะมีสเกลที่มีความยาวอยู่ 5
ไมครอน สามารถเอาสเกลนี้เทียบฝุ่นได้โดยประมาณได้เลยครับ

ตัวอย่างใบโมกนี้ เราจะทำการวิเคราะห์ธาตุฝุ่นที่จับใบเพิ่มเติม ตำแหน่งวิเคราะห์ตามลูกศรสีแดง
ภาพล่างครับ

ผลการวิเคราะห์ธาตุของฝุ่นที่จับใบไผ่ วิเคราะห์เชิงปริมาณ(Wt%) เชิงคุณภาพ (กราฟ)
จะมีธาตุประกอบด้วยWt%ต่างๆดังนี้ C คาร์บอน 24.58%, O ออกซิเจน 53.58%, Mg แมกนีเซียม 0.21%
, Al อลูมิเนียม 2.47%, Si ซิลิกอน 8.01, P ฟอสฟอรัส 0.14%, S ซัลเฟอร์ 0.45%, Cl ครอรีน 1.11%,
K โปแตสเซียม 1.68%, Ca แคลเซียม 5.76%, Ti ไททาเนียม 0.16%,Mn แมงกานีส 0.06%,
Fe เหล็ก 1.80%, ไม่มีCu ทองแดง ,และ Zn สังกะสี  เป็นต้น นี้คือส่วนประกอบของฝุ่นก้อนเดียว
ตัวอย่างนี้จะมี  P ฟอสฟอรัส , S ซัลเฟอร์ และ Mn แมงกานีส ที่เพิ่มมาจากตัวอย่างอื่นๆครับ

ผลวิเคราะห์เชิงปริมาณในรูปแบบ Compound% (Oxide) การอ่านผลตามผลด้านล่างจะมี Al2O3 หรือ
อลิมิเนียมออกไซด์อยู่ 7.56% ,SiO2 ซิลิกอนออกไซด์ 28.35, Fe2O3 เหล็กออกไซด์ 4.14% เป็นต้น



สรุป

ผลการทดลองของน้องเบนโจ พอสรุปได้ว่าตัวอย่างที่เราเก็บมาทั้ง 6 ตัวอย่างไม่ว่าใบไม้ใบเรียบและมีขน
ไม่เสมอไปเรื่องการเก็บฝุ่นว่าแบบมีขนจะเก็บฝุ่นได้มากกว่า เราพบว่าใบไทรเกาหลีคือใบที่เก็บฝุ่นได้มาก
ที่สุด ส่วนใบไผ่เก็บฝุ่นที่มีขนาดใหญ่มากที่สุด ตามกายภาพของใบไผ่จะมีขนที่สามารถกักฝุ่นขนาดใหญ่
ได้ดีกว่าใคร ตัวอย่างใบไม้เก็บมาบริเวณใกล้เคียงกัน พบขนาดของฝุ่นมีขนาดเล็กกว่า 2.5ไมครอนจำนวน
มาก ที่ว่าเล็กกว่าคืออยู่ในขนาดนาโน และมีขนาดใหญ่หลายไมครอน วิเคราะห์ธาตุออกมาส่วนใหญ่จะมี
โลหะหนัก ส่วนใหญ่ธาตุที่เราวิเคราะห์ได้ในการทดลองนี้มีธาตุจำพวก
C คาร์บอน , O ออกซิเจน , Mg แมกนีเซียม, Al อลูมิเนียม , Si ซิลิกอน , P ฟอสฟอรัส, S ซัลเฟอร์ ,
Cl ครอรีน , K โปแตสเซียม , Ca แคลเซียม , Ti ไททาเนียม ,Mn แมงกานีส ,  Fe เหล็ก , Cu ทองแดง
,และ Zn สังกะสี ต้องถามผู้รู้ต่อไปว่าถ้าเราสูดหายใจสารจำพวกนี้เข้าไปทุกๆวันจะเป็นยังไงต่อร่างกาย

ยังไงให้รักษาสุขภาพกันด้วยนะครับ สำหรับบทความนี้น้องเบนโจขอขอบคุณที่ติดตามกันนะครับ

วิเคราะห์ตำหนิตัวถังรถยนต์ ตัวถังมอเตอร์ไซด์

วิเคราะห์ตำหนิตัวถังรถยนต์ ตัวถังมอเตอร์ไซด์  ด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนฯ SEM
และเครื่องวิเคราะห์ธาตุ EDS/EDX

เป็นการวิเคราะห์ความเสียหาย ตำหนิ รอย คราบ Contamination ที่เกิดจากขั้นตอนขบวนการผลิต
ขั้นตอนการประกอบ กลุ่มAuto Parts โดยที่ ตำหนิ รอย คราบ Contamination ต่างๆจะติดอยู่กับ
ชิ้นส่วนต่างๆของ Auto Parts เราจะนำมาวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน
ไมโครสโคป SEM และวิเคราะห์ธาตุด้วยเครื่อง EDS/EDX

ตามรูปด้านล่างเป็นตำหนิที่เกิดกับตัวถังรถยนต์ ที่เกิดจากผ่านขบวนการทำสีมาแล้ว แล้วเกิดมีตำหนิ
ถ้าเรา ลองเอามือลูบตรงรอยดูจะสะดุดมือเล็กน้อย เป็นภาพถ่ายจากกล้องมือถือ

ตัวอย่าง : ตัวถังรถยนต์ ที่เป็นตำหนิ สีบรอนซ์เงิน (ตัดมาทดสอบขนาด 2×2 นิ้ว)

ตามภาพล่าง เป็นภาพถ่ายจากกล้องจุลทรรศน์ไมโครสโคป OM จะสามารถถ่ายได้ที่กำลังขยาย x40
แต่ก็ยังไม่เห็นรายละเอียดได้มากนัก

ตามภาพล่าง เรานำตัวอย่างตัวเดียวกันมาถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน กำลังขยายสูง
ถ่ายแบบไม่ทำลายตัวอย่าง ถ่ายในโหมด LV Mode ตัวอย่างจึงไม่จำเป็นต้องนำไฟฟ้า ซึ่งตัวอย่าง
ที่ว่าเป็นงานสีพ่น บนวัสดุที่นำไฟฟ้า เวลาดูด้วยกล้องประเภทนี้เราจะถือว่าตัวอย่างไม่นำไฟฟ้า
ถ้าจะถือว่าตัวอย่างใดนำไฟฟ้า ตัวอย่างนั้นจะต้องนำไฟฟ้าเกือบ 100% และตัวอย่างนี้ถ้าจะถ่าย
ในโหมดนำไฟฟ้าก็ได้ แต่จะต้องนำตัวอย่างนี้ ไปฉาบเฉลือบวัสดุให้นำไฟฟ้าก่อน เช่นฉาบทอง
ฉาบพาราเดียม เป็นต้น ขั้นตอนการฉาบเราจะไม่ได้กล่าวถึง

ตามภาพล่างเป็นภาพรอยตำหนิ
ถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคปแบบส่องกราด SEM ที่ 20kv (กิโลโวลท์)
กำลังขยาย x 50 เท่า สเกล 500 um (ไมโครเมตร หรือไมครอน)
ถ่ายในโหมด Low vacuum (ความเป็นสูญญากาศต่ำ) ภาพแบบ BEI COMPO
ถ่ายโดย www.dosem24hr.com

เราวัดขนาดของรอยได้ กว้าง 317 ไมโครเมตร (0.317 มิลลิเมตร) ยาว 755 ไมโครเมตร
(0.755 มิลลิเมตร) ซึ่งจะมีขนาดเล็กมาก

ตามภาพล่างเป็นภาพรอยตำหนิ
ถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคปแบบส่องกราด SEM ที่ 20kv (กิโลโวลท์)
กำลังขยาย x 100 เท่า สเกล 100 um (ไมโครเมตร หรือไมครอน)
ถ่ายในโหมด Low vacuum (ความเป็นสูญญากาศต่ำ) ภาพแบบ BEI COMPO
ถ่ายโดย www.dosem24hr.com

ตามภาพล่างเป็นภาพรอยตำหนิ
ถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคปแบบส่องกราด SEM ที่ 20kv (กิโลโวลท์)
กำลังขยาย x 500 เท่า สเกล 50 um (ไมโครเมตร หรือไมครอน)
ถ่ายในโหมด Low vacuum (ความเป็นสูญญากาศต่ำ) ภาพแบบ BEI COMPO
ถ่ายโดย www.dosem24hr.com

ตามภาพล่างเป็นภาพรอยตำหนิ
ถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคปแบบส่องกราด SEM ที่ 20kv (กิโลโวลท์)
กำลังขยาย x 750 เท่า สเกล 10 um (ไมโครเมตร หรือไมครอน)
ถ่ายในโหมด Low vacuum (ความเป็นสูญญากาศต่ำ) ภาพแบบ BEI COMPO
ถ่ายโดย www.dosem24hr.com

บทความที่เกี่ยวข้อง : เกี่ยวกับการถ่ายภาพ คลิก

เมื่อเราถ่ายรอยตำหนิด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนฯ SEM เราจะเห็นกายภาพของผิวที่
เป็นตำหนิได้ชัดขึ้นตามภาพบน แต่เรายังจะไม่ทราบว่ารอยตำหนินี้คืออะไร เราจึงจะต้อง
มาวิเคราะห์กันต่อ ด้วยเครื่องวิเคราะห์ธาตุ EDS/EDX

วิเคราะห์ตำหนิ ด้วยเครื่องวิเคราะห์ธาตุ EDS/EDX 

ตามภาพบนที่กำลังขยาย 50 เท่าเราจะวิเคราะห์ด้านเชิงคุณภาพ ตามกรอบสีแดงที่แสดง
ผลการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ จะได้ผลเป็นกราฟเชิงคุณภาพเหมือนภาพล่าง

บทความที่เกี่ยวข้อง : วิเคราะห์ธาตุเชิงปริมาณ เชิงคุณภาพด้วย EDS,EDX คลิก

กราฟเชิงคุณภาพบริเวณที่เป็นตำหนิ  ตามตำแน่งภาพวิเคราะห์ กำลังขยาย x50

เราจะได้ผลว่ามีองค์ประกอบธาตุหรือสาร C คาร์บอน,O ออกซิเจน,Si ซิลิกอน,Ca แคลเซียม
,S ซัลเฟอร์,Al อลูมิเนียม, K โปแตสเซียม,Ti ไททาเนียม,Mg แมกนีเซียม, Fe เหล็ก,Zn สังกะสี
,Ba แบเรียม อยู่บนพื้นที่กรอบสีแดงที่เราวิเคราะห์ ตามภาพด้านล่าง

กราฟเชิงคุณภาพอีกแบบ บริเวณตำหนิ

วิเคราะห์ธาตุเชิงปริมาณ Qualitative Analysis 
การวิเคราะห์เชิงปริมาณ เราจะได้ค่าเป็น Element % หรือเรียกอีกชื่อ Wt% (weight %)
หรืออีกชื่อ Con% (concentration%) และ Atomic%
บทความที่เกี่ยวข้อง : วิเคราะห์ธาตุเชิงปริมาณ เชิงคุณภาพด้วย EDS,EDX คลิก

ตามภาพล่างจะวิเคราะห์เชิงปริมาณแบบ wt%

Quantitative method: ZAF ( 4 iterations).

Analysed all elements and normalised results.

ตามผลด้านล่างเราจะวิเคราะห์ธาตุทั้งหมด ที่ตรวจพบเจอใน
บริเวณรอยตำหนิกรอบสีแดง เราจะได้องค์ประกอบธาตุหรือสาร 
C คาร์บอน 30.31 % ,O ออกซิเจน 44.27 % ,Si ซิลิกอน 3.39 % , เป็นต้น

 

ตามภาพล่างจะวิเคราะห์เชิงปริมาณแบบ Compound%
บริเวณรอยตำหนิกรอบสีแดง เราจะได้องค์ประกอบธาตุหรือสาร 

Co2 64.72 % ,SiO2 6.34 % ,TiO2 8.76 % , เป็นต้น

หลังจากเราได้วิเคราะห์เชิงปริมาณเชิงคุณภาพ บริเวรที่เป็นตำหนิแล้ว เราจะมาเปรียบเทียบ
ผลวิเคราะห์บริเวณที่ไม่มีตำหนิบ้าง ตามตำแหน่งกรอบสีแดงภาพล่าง

กราฟเชิงคุณภาพบริเวณที่เป็นบริเวณปกติ  ตามตำแน่งภาพวิเคราะห์ กำลังขยาย x50

เราจะได้ผลว่ามีองค์ประกอบธาตุหรือสาร C คาร์บอน,O ออกซิเจน,Ti ไททาเนียม,Zn สังกะสี
และ Ba แบเรียม อยู่บนพื้นที่กรอบสีแดงที่เราวิเคราะห์ ตามภาพด้านบน

กราฟเชิงคุณภาพอีกแบบ บริเวณปกติ

วิเคราะห์ธาตุเชิงปริมาณ Qualitative Analysis 

บทความที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ธาตุเชิงปริมาณ เชิงคุณภาพด้วย EDS,EDX คลิก

ตามภาพล่างจะวิเคราะห์เชิงปริมาณแบบ wt%

Quantitative method: ZAF ( 4 iterations).

Analysed all elements and normalised results.

ตามผลด้านล่างเราจะวิเคราะห์ธาตุทั้งหมด ที่ตรวจพบเจอใน
บริเวณรอยปกติ กรอบสีแดง เราจะได้องค์ประกอบธาตุหรือสาร 
C คาร์บอน 48.06 % ,O ออกซิเจน 50.22 % ,สังกะสี 1.31 % , เป็นต้น

ตำแหน่งปกติจะมี % ของ C คาร์บอน ,O ออกซิเจน ค่อนข้างสูงเพราะเป็นชั้นที่ถัด
จากชั้นของเหล็กและสี ซึ่งจะเป็นชั้นเคลือบสี หรือชั้นของเคลียร์นั้นเอง แสดงว่า
บริเวณตำแหน่งตำหนิจะเป็น Particle เล็กๆมาติดอยู่ระหว่างชั้นเหล็ก+สี กับชั้นเคลียร์
และ Particle นี้มีองค์ประกอบอะไรบ้าง ผลก็ตามตำแหน่งตำหนิก่อนหน้าเลยครับ

 


การวิเคราะห์ดูการกระจายตัวตามพื้นที่ แบบ Speed Mapping (เชิงคุณภาพ) 

จากผลการวิเคราะห์เชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ เนื่องจากเราเลือกใช้วิเคราะห์ทั้งภาพ(Area)  
ไม่ได้เลือกใช้วิธียิงเป็นจุด (Point) ทำให้ผลที่ได้คือผลที่ได้ทั้งหมดที่เราเห็นตามภาพ ถ้า  
เราจะใช้วิธีการยิงเป็นจุด เพือจะให้ทราบตำแหน่งธาตุก็ได้ แต่อาจจะต้องยิงหลายจุด จะมีวิธี
การหาตำแหน่งของธาตุแบบรวดเร็ว ดูการกระจายตัว เช็คเพสที่เรียกว่า Mapping ตามผล  
ด้านล่างเราก็จะทราบ ตำแหน่งแต่ละธาตุว่าอยู่ส่วนใหนของตัวอย่างได้

ตามภาพบน เราจะทำการวิเคราะห์การกระจายตัวของธาตุต่อ (Mapping)

การอ่านผล ยกตัวอย่างตรงตำแหน่งภาพช่อง Ti ไททาเนียม เราพบว่าตรงตำแหน่งสีสว่างมากตาม 
ภาพเป็นขาว แดง มาสีเหลืองจะมี Ti ไททาเนียม มากรองลงมาสีเขียว สีฟ้า น้ำเงินมีปริมาณน้อย
มาก ส่วนสีดำ
ไม่มี Ti ไททาเนียมอยู่ในบริเวรนั้นเลย

บทความที่เกี่ยวข้องและการดูผล : การทำ Mapping แบบเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ คลิกค่ะ
*** ภาพแสดงในเว็บขนาด 580×355 ส่วนภาพจริงจะมีขนาด 1024×520

ตามภาพล่าง เราจะเพิ่มกำลังขยายในการทำ Mapping เอาเฉพาะบริเวณที่เป็นตำหนิ
ให้เห็นได้ชัดขึ้น

การอ่านผลจะเหมือนกันกับผลก่อนหน้า พิเศษจะมี Colour Key มาเทียบให้ว่า บริเวณ
ใดมีธาตุใดๆ มากหรือน้อย ตามภาพด้านล่าง

ส่วนภาพล่างจะเป็นการซ้อนทับตำแหน่ง ยกตัวอย่างเป็นการซ้อนทับตำแหน่งของ Ti,Al,Si
วัตถุประสงค์การซ้อนทับ หรือรวมธาตุเพื่อหาตำแหน่งที่แน่นอนของธาตุทั้งสาม การอ่านผล
ถ้าต้องการดูตำแหน่ง Ti ไททาเนียม ให้ดูสีแดงในภาพเป็นหลัก เราก็จะได้ตำแหน่ง Ti

การวิเคราะห์ดูการกระจายตัวตามแนวเส้น แบบ Speed Line Scan (เชิงคุณภาพ)
เราจะมาวิเคราะห์ธาตุ ตามแนวเส้นที่เราลาก สีเหลืองตามภาพล่าง

ผลวิเคราะห์การกระจายตัวของธาตุตามแนวเส้นตามผลด้านล่าง

บทความที่เกี่ยวข้อง : การวิเคราะห์ Line Scan และการอ่านผล คลิก

ตามภาพล่างเป็นการซ้อนภาพ และตำแหน่ง Al ,Ti เข้าด้วยกัน

จากการที่เราได้วิเคราะห์มาทั้งหมด จะทำให้เราทราบได้ว่า ตำหนิ รอย คราบ Contamination
ที่เกิดกับชิ้นส่วน Auto Parts ของเราเป็นอะไรกันแน่ และมาจากใหน และเกิดขึ้นจากขั้นตอนใด
ในขบวนการผลิต และการวิเคราะห์แบบนี้สามารถประยุกต์ หรือไปวิเคราะห์กับชิ้นส่วนอื่นๆใน

วงการอุตสาหกรรมรถยนต์ มอเตอร์ไซค์ เครื่องจักร วัตถุดิบ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรม
ยาง 
และ อุตสาหกรรมเหล็ก หรืออุตสาหกรรมอื่นๆได้ครับ 

รอยเล็กๆที่เราเห็น และนำมาวิเคราะห์ตามบทความนี้ อย่าเห็นเป็นเรื่องเล็กนะครับ เพราะรอย
ขนาดเท่านี้ อนาคตถ้าโดนน้ำ อากาศบ่อยครั้งเข้าจะเกิดเป็นออกไซค์ จะทำให้ตัวถังเป็นสนิม
และลามเป็นวงใหญ่ได้นะครับ 

*********************************************************************

สุดท้ายขอขอบคุณ Do SEM ที่เปิดพื้นที่ให้ มากๆครับ ติดตามบทความต่อๆไปนะครับ

น้อมรับทุกคำชี้แนะครับ Mr.Golf (สิงห์เฒ่าซ่อมเซ็ม) manatsanan2007@hotmail.com
หรือมาพบปะพูดคุยได้ตามประสาได้ที่ BigC จ.สุรินทร์ (แอร์ฟรี 555 จริงๆนะครับ) หรือมา
ติดตามเป็นเพื่อนผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์ค ฝากคำถามได้ ตามลิงค์ด้านล่างเลยครับ
http://www.facebook.com/JeolOxfordInstruments?ref=hl

*********************************************************************  
ตัวถังรถยนต์,ตัวถังมอเตอร์ไซค์,วิเคราะห์auto part,body of a car,vehicle body,autobody,coachwork,
carrosserie,งานสีauto parts,วิเคราะห์ความเสียหาย auto parts

สถานที่ให้และรับบริการ SEM,EDS : ใกล้ฟิวเจอร์รังสิต และดรีมเวิลด์

Do SEM บริการเครื่อง SEM กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคป แบบส่องกราด

รังแค drandraft

รังแค drandraft

รังแค จะเป็นลักษณะ ขุยหรือสะเก็ดสีขาว แผ่นสีขาวเล็กๆบนหนังศีรษะ จะพบบริเวณโคนผม
เส้นผม
ส่วนใหญ่จะร่วงลงมาเกาะบนปกเสื้อ บริเวณบ่าและไหล่ด้านหลัง ด้านข้าง ซึ่งจะเห็น
ได้ชัดเจนมากขึ้น
เมื่อใส่เสื้อสีเข้มๆ รังแคนี้เป็นปัญหาที่พบบ่อย หลายคนที่พบปัญหาและ
เกิดเป็นรังแคแล้วมีผลต่อ
บุคลิกภาพ ทำให้คนจำนวนมากเหล่านั้นขาดความมั่นใจไปอย่างมาก

บทความนี้เราจะนำรังแคที่เป็น ขุยหรือสะเก็ดสีขาว แผ่นสีขาวเล็กๆบนหนังศีรษะ มาถ่ายด้วย
กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคปกำลังขยายสูง หรือที่เรียกกันว่า SEM Scanning
Electron Microscopeการถ่ายภาพด้วยกล้องชนิดนี้ จะได้ภาพเป็นลักษณะภาพขาวดำเท่านั้น
ตัวอย่างที่นำมาถ่ายภาพจะต้องเป็นตัวอย่างนำไฟฟ้าได้ด้วย ดังนั้นเราจะต้องนำรังแคมาฉาบ
เคลือบทองก่อนเพื่อให้นำไฟฟ้า

ตามภาพล่างเป็นรังแค drandraft ถ่ายบริเวณผิวด้านนอก
ถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคปแบบส่องกราด SEM ที่ 15kv (กิโลโวลท์)
กำลังขยาย x 50 เท่า สเกล 500 um (ไมครอน ) หรือ 0.5 มิลลิเมตร
ถ่ายในโหมด High vacuum (ความเป็นสูญญากาศสูง) ภาพแบบ SEI
รังแค drandraft ฉาบเคลือบด้วยทองเพื่อให้นำไฟฟ้าได้ 
ถ่ายโดย www.dosem24hr.com

ตามภาพล่างเป็นรังแค drandraft ถ่ายบริเวณผิวด้านนอก
ถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคปแบบส่องกราด SEM ที่ 15kv (กิโลโวลท์)
กำลังขยาย x 200 เท่า สเกล 100 um (ไมครอน ) หรือ 0.1 มิลลิเมตร
ถ่ายในโหมด High vacuum (ความเป็นสูญญากาศสูง) ภาพแบบ SEI
รังแค drandraft ฉาบเคลือบด้วยทองเพื่อให้นำไฟฟ้าได้ 
ถ่ายโดย www.dosem24hr.com

ตามภาพล่างเป็นรังแค drandraft ถ่ายบริเวณผิวด้านนอก
ถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคปแบบส่องกราด SEM ที่ 15kv (กิโลโวลท์)
กำลังขยาย x 1000 เท่า สเกล 10 um (ไมครอน ) หรือ 0.01 มิลลิเมตร
ถ่ายในโหมด High vacuum (ความเป็นสูญญากาศสูง) ภาพแบบ SEI
รังแค drandraft ฉาบเคลือบด้วยทองเพื่อให้นำไฟฟ้าได้ 
ถ่ายโดย www.dosem24hr.com

ตามภาพล่างเป็นรังแค drandraft ถ่ายบริเวณผิวด้านนอก
ถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคปแบบส่องกราด SEM ที่ 15kv (กิโลโวลท์)
กำลังขยาย x 5000 เท่า สเกล 5 um (ไมครอน ) หรือ 0.005 มิลลิเมตร
ถ่ายในโหมด High vacuum (ความเป็นสูญญากาศสูง) ภาพแบบ SEI
รังแค drandraft ฉาบเคลือบด้วยทองเพื่อให้นำไฟฟ้าได้ 
ถ่ายโดย www.dosem24hr.com

ตามภาพล่างเป็นรังแค drandraft ถ่ายบริเวณผิวด้านนอก
ถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคปแบบส่องกราด SEM ที่ 15kv (กิโลโวลท์)
กำลังขยาย x 2000 เท่า สเกล 10 um (ไมครอน ) หรือ 0.01 มิลลิเมตร
ถ่ายในโหมด High vacuum (ความเป็นสูญญากาศสูง) ภาพแบบ SEI
รังแค drandraft ฉาบเคลือบด้วยทองเพื่อให้นำไฟฟ้าได้ 
ถ่ายโดย www.dosem24hr.com

ตามภาพล่างเป็นรังแค drandraft ถ่ายบริเวณผิวด้านนอก
ถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคปแบบส่องกราด SEM ที่ 15kv (กิโลโวลท์)
กำลังขยาย x 500 เท่า สเกล 50 um (ไมครอน ) หรือ 0.05 มิลลิเมตร
ถ่ายในโหมด High vacuum (ความเป็นสูญญากาศสูง) ภาพแบบ SEI
รังแค drandraft ฉาบเคลือบด้วยทองเพื่อให้นำไฟฟ้าได้ 
ถ่ายโดย www.dosem24hr.com

ตามภาพล่างเป็นรังแค drandraft ถ่ายบริเวณผิวด้านนอก
ถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคปแบบส่องกราด SEM ที่ 15kv (กิโลโวลท์)
กำลังขยาย x 2000 เท่า สเกล 10 um (ไมครอน ) หรือ 0.01 มิลลิเมตร
ถ่ายในโหมด High vacuum (ความเป็นสูญญากาศสูง) ภาพแบบ SEI
รังแค drandraft ฉาบเคลือบด้วยทองเพื่อให้นำไฟฟ้าได้ 
ถ่ายโดย www.dosem24hr.com

จากภาพถ่ายทั้งหมด เราจะเห็นได้ว่าจากแผ่นรังแคเล็กๆที่เรานำมาถ่ายภาพกำลังขยายสูง
เราจะพบได้อีกว่าจาก แผ่นเล็กๆที่เราเห็นด้วยตาเปล่าพอมองผ่านกล้องแบบนี้จะเห็นได้ว่า
จะเป็นแผ่นเล็กเรียงซ้อนกันอยู่ตามภาพอีกจำนวนมาก

*********************************************************************

ขอขอบคุณ Do SEM ที่เปิดพื้นที่ให้ มากๆครับ ติดตามภาพสวยๆ/บทความต่อๆไปนะครับ

น้อมรับทุกคำชี้แนะครับ Mr.Golf (สิงห์เฒ่าซ่อมเซ็ม) manatsanan2007@hotmail.com
หรือมาพบปะพูดคุยได้ตามประสาได้ที่ BigC จ.สุรินทร์ (แอร์ฟรี 555 จริงๆนะครับ) หรือมา
ติดตามเป็นเพื่อนผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์ค ฝากคำถามได้ ตามลิงค์ด้านล่างเลยครับ
http://www.facebook.com/JeolOxfordInstruments?ref=hl

********************************************************************* 

บทความน่าสนใจอื่นๆ 

สถานที่ให้และรับบริการ SEM,EDS : ใกล้ฟิวเจอร์รังสิต และดรีมเวิลด์

Do SEM บริการเครื่อง SEM กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคป แบบส่องกราด

 

 

วิเคราะห์เหรียญกษาปณ์ต่างประเทศ ด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนฯ SEM และเครื่องวิเคราะห์ธาตุ EDS

วิเคราะห์เหรียญกษาปณ์ต่างประเทศ ด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนฯ SEM
และเครื่องวิเคราะห์ธาตุ EDS

จากบทความเดิมเรื่องเหรียญกษาปณ์ ที่เราใช้กันอยู่ทำมาจากวัสดุใดกัน และมีส่วนผสมอะไร
บ้างและเท่าไร ที่เป็นเหรียญกษาปณ์ไทย ตามลิงค์บทความด้านล่าง

บทความอื่นๆที่แนะนำเรื่องเหรียญสิบคลิก  ,เหรียญ25,50 สตางค์เหรียญ 1,2,5 บาทคลิก

มาบทความนี้ เราจะนำเหรียญกษาปณ์ต่างประเทศ ซึ่งเราจะนำเหรียญมาวิเคราะห์กัน เหรียญ
ที่นำมาเป็นเหรียญของ Australia ตามภาพล่าง เป็นเหรียญเก่าผ่านการใช้งานมานาน ทำให้ 
การวิเคราะห์ธาตุ จะได้ค่าเชิงปริมาณต่างจากเหรียญใหม่เล็กน้อย 

ด้านหน้าเหรียญกษาปณ์ Australia

ด้านหลังเหรียญกษาปณ์ Australia

ตามภาพเป็นภาพเหรียญกษาปณ์ Australia ด้านหน้า
ถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคปแบบส่องกราด SEM ที่ 20kv (กิโลโวลท์)
กำลังขยาย x 15 เท่า สเกล 1 mm (มิลลิเมตร)
ถ่ายในโหมด High vacuum (ความเป็นสูญญากาศสูง) ภาพแบบ SEI
ถ่ายโดย www.dosem24hr.com

ตามภาพเป็นภาพเหรียญกษาปณ์ Australia ด้านหน้า
ถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคปแบบส่องกราด SEM ที่ 20kv (กิโลโวลท์)
กำลังขยาย x 15 เท่า สเกล 1 mm (มิลลิเมตร)
ถ่ายในโหมด High vacuum (ความเป็นสูญญากาศสูง) ภาพแบบ SEI
ถ่ายโดย www.dosem24hr.com

ตามภาพเป็นภาพเหรียญกษาปณ์ Australia ด้านหน้า
ถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคปแบบส่องกราด SEM ที่ 20kv (กิโลโวลท์)
กำลังขยาย x 15 เท่า สเกล 1 mm (มิลลิเมตร)
ถ่ายในโหมด High vacuum (ความเป็นสูญญากาศสูง) ภาพแบบ SEI
ถ่ายโดย www.dosem24hr.com

ตามภาพเป็นภาพเหรียญกษาปณ์ Australia ด้านหน้า
ถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคปแบบส่องกราด SEM ที่ 20kv (กิโลโวลท์)
กำลังขยาย x 35 เท่า สเกล 500 um (ไมโครเมตร)
ถ่ายในโหมด High vacuum (ความเป็นสูญญากาศสูง) ภาพแบบ SEI
ถ่ายโดย www.dosem24hr.com

ตามภาพเป็นภาพเหรียญกษาปณ์ Australia ด้านหลัง
ถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคปแบบส่องกราด SEM ที่ 20kv (กิโลโวลท์)
กำลังขยาย x 15 เท่า สเกล 1 mm (มิลลิเมตร)
ถ่ายในโหมด High vacuum (ความเป็นสูญญากาศสูง) ภาพแบบ SEI
ถ่ายโดย www.dosem24hr.com

ตามภาพเป็นภาพเหรียญกษาปณ์ Australia ด้านหน้า
ถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคปแบบส่องกราด SEM ที่ 20kv (กิโลโวลท์)
กำลังขยาย x 500 เท่า สเกล 50 um (ไมโครเมตร)
ถ่ายในโหมด High vacuum (ความเป็นสูญญากาศสูง) ภาพแบบ SEI
ถ่ายโดย www.dosem24hr.com

ตามภาพเป็นภาพเหรียญกษาปณ์ Australia ด้านหลัง
ถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคปแบบส่องกราด SEM ที่ 20kv (กิโลโวลท์)
กำลังขยาย x 2000 เท่า สเกล 10 um (ไมโครเมตร)
ถ่ายในโหมด High vacuum (ความเป็นสูญญากาศสูง) ภาพแบบ SEI
ถ่ายโดย www.dosem24hr.com

วิเคราะห์เหรียญด้านหน้า  Coin Analysis ด้วยเครื่องวิเคราะห์ธาตุ EDS/EDX 

ตามภาพบนที่กำลังขยาย 500 เท่าเราจะวิเคราะห์ด้านเชิงคุณภาพ ทั้งภาพที่แสดง
ผลการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ จะได้ผลเป็นกราฟเชิงคุณภาพเหมือนภาพล่าง

บทความที่เกี่ยวข้อง : วิเคราะห์ธาตุเชิงปริมาณ เชิงคุณภาพด้วย EDS,EDX คลิก 

กราฟเชิงคุณภาพเหรียญ  ตามตำแน่งภาพวิเคราะห์ กำลังขยาย x500

เราจะได้ผลว่ามีองค์ประกอบธาตุหรือสาร C คาร์บอน,O ออกซิเจน,Si ซิลิกอน,Mo
โมลิดินั่ม,Ni นิเกิล และ Cu ทองแดง อยู่บนพื้นที่ที่เราวิเคราะห์ ตามภาพด้านล่าง

วิเคราะห์เหรียญด้านหลัง  Coin Analysis ด้วยเครื่องวิเคราะห์ธาตุ EDS/EDX 

ตามภาพบนที่กำลังขยาย 2000 เท่าเราจะวิเคราะห์ด้านเชิงคุณภาพ ทั้งภาพที่แสดง
ผลการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ จะได้ผลเป็นกราฟเชิงคุณภาพเหมือนภาพล่าง

บทความที่เกี่ยวข้อง : วิเคราะห์ธาตุเชิงปริมาณ เชิงคุณภาพด้วย EDS,EDX คลิก 

กราฟเชิงคุณภาพเหรียญ  ตามตำแน่งภาพวิเคราะห์ กำลังขยาย x2000

เราจะได้ผลว่ามีองค์ประกอบธาตุหรือสาร C คาร์บอน,O ออกซิเจน,Si ซิลิกอน,
Ni นิเกิล ,Mn แมงกาเนีส, Cu ทองแดง และ Fe เหล็ก อยู่บนพื้นที่ที่เราวิเคราะห์
ตามภาพด้านล่าง

วิเคราะห์ธาตุเชิงปริมาณ Qualitative Analysis 
การวิเคราะห์เชิงปริมาณ เราจะได้ค่าเป็น Element % หรือเรียกอีกชื่อ Wt% (weight %)
หรืออีกชื่อ Con% (concentration%) และ Atomic%
บทความที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ธาตุเชิงปริมาณ เชิงคุณภาพด้วย EDS,EDX คลิก

ตามภาพล่างจะวิเคราะห์เชิงปริมาณแบบ

Quantitative method: ZAF ( 4 iterations).

Analysed all elements and normalised results.

ตามผลด้านล่างเราจะวิเคราะห์ธาตุทั้งหมด ที่ตรวจพบเจอใน
เหรียญ Australia ด้านหน้า x500 ซึ่งเราจะได้องค์ประกอบธาตุหรือสาร 
C คาร์บอน 4.39 % ,O ออกซิเจน 2.44 % ,Si ซิลิกอน 0.13 % ,Ni นิเกิล 24.01%
Mo โมลิดินั่ม 0.31% และ Cu ทองแดง 68.72 %

ตามภาพล่างจะวิเคราะห์เชิงปริมาณแบบ

Quantitative method: ZAF ( 4 iterations).

Analysed all elements and normalised results.

ตามผลด้านล่างเราจะวิเคราะห์ธาตุทั้งหมด ที่ตรวจพบเจอใน
เหรียญ Australia ด้านหลัง x2000 ซึ่งเราจะได้องค์ประกอบธาตุหรือสาร 
C คาร์บอน 2.60 % ,O ออกซิเจน 1.28 % ,Mn แมงกานีส  0.22 % ,Ni นิเกิล 25.61%
Fe เหล็ก 0.13 % และ Cu ทองแดง 70.14 %

เหรียญที่เราใช้จะมีส่วนประกอบเป็นโลหะผสมต่าง ๆกัน เช่น เหล็กกล้า 94.35% ผสมกับ
ทองแดง 5.65%  หรือ ส่วนผสมทองแดง 89%อะลูมิเนียม 5%สังกะสี 5% ดีบุก 1%  หรือ
ทองแดง 75% ผสมกับนิกเกิล 25% ซึ่งขึ้นอยู่กับรูปแบบของเหรียญแต่ละราคา เหรียญที่มี
ส่วนผสมระหว่างทองแดง 75 % กับ นิกเกิล 25 %  เรียกว่า คิวโปรนิกเกิล (Cupronickel) 

การวิเคราะห์เชิงปริมาณเหรียญจริง จะพบว่ามีส่วนผสมใกล้เคียง คิวโปรนิกเกิล (Cupronickel)
แต่เราจะพบว่ามีส่วนผสมอื่นแปลกปลอมเข้ามา เราจึงตัดธาตุอื่นๆที่ไม่ไช่ ทองแดงกับ นิกเกิล
ออก เราจะได้เชิงปริมาณตามภาพล่าง 

ซึ่งจะได้เชิงปริมาณใกล้เคียง คิวโปรนิกเกิล (Cupronickel) ตามภาพล่าง

การวิเคราะห์ดูการกระจายตัว แบบ Speed Mapping (เชิงคุณภาพ) 

จากผลการวิเคราะห์เชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ เนื่องจากเราเลือกใช้วิเคราะห์ทั้งภาพ(Area)  
ไม่ได้เลือกใช้วิธียิงเป็นจุด (Point) ทำให้ผลที่ได้คือผลที่ได้ทั้งหมดที่เราเห็นตามภาพ ถ้า  
เราจะใช้วิธีการยิงเป็นจุด เพือจะให้ทราบตำแหน่งธาตุก็ได้ แต่อาจจะต้องยิงหลายจุด จะมีวิธี
การหาตำแหน่งของธาตุแบบรวดเร็ว ดูการกระจายตัว เช็คเพสที่เรียกว่า Mapping ตามผล  
ด้านล่างเราก็จะทราบ ตำแหน่งแต่ละธาตุว่าอยู่ส่วนใหนของตัวอย่างได้

การอ่านผล ยกตัวอย่างตรงตำแหน่งภาพช่อง O ออกซิเจน เราพบว่าตรงตำแหน่งสีสว่างมากตาม 
ภาพเป็นสีเหลืองจะมี O ออกซิเจน มากรองลงมาสีเขียว สีฟ้า น้ำเงินมีปริมาณน้อยมาก ส่วนสีดำ
ไม่มี O ออกซิเจน 

บทความที่เกี่ยวข้องและการดูผล : การทำ Mapping แบบเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ คลิกค่ะ
*** ภาพแสดงในเว็บขนาด 580×355 ส่วนภาพจริงจะมีขนาด 1024×520

การดูการกระจายตัวของธาตุหลักนิเกิล เหล็ก และทองแดง พบว่ามีความสม่ำเสมอเป็นเนื้อเดียวกัน
นอกนั้นจะกระจายตัวไม่สม่ำเสมอ

*********************************************************************

สุดท้ายขอขอบคุณ Do SEM ที่เปิดพื้นที่ให้ มากๆครับ ติดตามบทความต่อๆไปนะครับ

น้อมรับทุกคำชี้แนะครับ Mr.Golf (สิงห์เฒ่าซ่อมเซ็ม) manatsanan2007@hotmail.com
หรือมาพบปะพูดคุยได้ตามประสาได้ที่ BigC จ.สุรินทร์ (แอร์ฟรี 555 จริงๆนะครับ) หรือมา
ติดตามเป็นเพื่อนผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์ค ฝากคำถามได้ ตามลิงค์ด้านล่างเลยครับ
http://www.facebook.com/JeolOxfordInstruments?ref=hl

*********************************************************************  
เหรียญกษาปณ์,เงินเหรียญ,Coin,Australia Coin,วิเคราะห์เหรียญ,Coin analysis

สถานที่ให้และรับบริการ SEM,EDS : ใกล้ฟิวเจอร์รังสิต และดรีมเวิลด์

Do SEM บริการเครื่อง SEM กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคป แบบส่องกราด

ภาพแพลงก์ตอน ถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนฯ

ภาพแพลงก์ตอน ถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนฯ

เป็นแพลงก์ตอนน้ำจืด ถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคป กำลังขยายสูง

ภาพแพลงก์ตอนฉบับเต็มคลิก

ภาพแพลงก์ตอนฉบับเต็มคลิก

ภาพแพลงก์ตอนฉบับเต็มคลิก

Do SEM บริการเครื่อง SEM กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคป แบบส่องกราด

 

เชื้อรา,รา

เชื้อรา,รา 

เราจะนำเชื้อรา,รา ชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นกับกระดาษหีบห่อปุ๋ยบัวชนิดเม็ด ตัดมาบางส่วน
มาถ่าย ด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคปแบบส่องกราด SEM กำลังขยายสูง

ลักษณะของเชื้อรา,รา ที่เรานำมาเป็นตัวอย่าง ตามภาพล่าง

เราจะนำราที่เกิดบนกระดาษตามภาพบน มา 2 ลักษณะคือแบบกระจายตัวหนาแน่น 
และกระจายตัวบางๆ ตัดมาอย่างละ 4×4 mm.(มิลลิเมตร) แล้วนำมาฉาบเคลือบด้วย
ทอง เพื่อให้ตัวอย่างรา สามารถนำไฟฟ้าได้ เพื่อที่จะถ่ายภาพในโหมด HV SEM 
ภาพแบบ SEI

เรามาดูเชื้อราแบบกระจายตัวบางๆ กันก่อนนะครับ
ตามภาพล่างเป็นเชื้อรา,รา ถ่ายบริเวณผิวด้านนอก
ถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคปแบบส่องกราด SEM ที่ 20kv (กิโลโวลท์)
กำลังขยาย x 50 เท่า สเกล 500 um (ไมครอน ) หรือ 0.5 มิลลิเมตร
ถ่ายในโหมด High vacuum (ความเป็นสูญญากาศสูง) ภาพแบบ SEI
เชื้อรา,รา ฉาบเคลือบด้วยทองเพื่อให้นำไฟฟ้าได้ 
ถ่ายโดย www.dosem24hr.com

ตามภาพล่างเป็นเชื้อรา,รา ถ่ายบริเวณผิวด้านนอก
ถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคปแบบส่องกราด SEM ที่ 20kv (กิโลโวลท์)
กำลังขยาย x 200 เท่า สเกล 100 um (ไมครอน ) หรือ 0.1 มิลลิเมตร
ถ่ายในโหมด High vacuum (ความเป็นสูญญากาศสูง) ภาพแบบ SEI
เชื้อรา,รา ฉาบเคลือบด้วยทองเพื่อให้นำไฟฟ้าได้ 
ถ่ายโดย www.dosem24hr.com

ตามภาพล่างเป็นเชื้อรา,รา ถ่ายบริเวณผิวด้านนอก
ถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคปแบบส่องกราด SEM ที่ 20kv (กิโลโวลท์)
กำลังขยาย x 350 เท่า สเกล 50 um (ไมครอน ) หรือ 0.05 มิลลิเมตร
ถ่ายในโหมด High vacuum (ความเป็นสูญญากาศสูง) ภาพแบบ SEI
เชื้อรา,รา ฉาบเคลือบด้วยทองเพื่อให้นำไฟฟ้าได้ 
ถ่ายโดย www.dosem24hr.com

ตามภาพล่างเป็นเชื้อรา,รา ถ่ายบริเวณผิวด้านนอก
ถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคปแบบส่องกราด SEM ที่ 20kv (กิโลโวลท์)
กำลังขยาย x 1000 เท่า สเกล 10 um (ไมครอน ) หรือ 0.01 มิลลิเมตร
ถ่ายในโหมด High vacuum (ความเป็นสูญญากาศสูง) ภาพแบบ SEI
เชื้อรา,รา ฉาบเคลือบด้วยทองเพื่อให้นำไฟฟ้าได้ 
ถ่ายโดย www.dosem24hr.com

ตามภาพล่างเป็นเชื้อรา,รา ถ่ายบริเวณผิวด้านนอก
ถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคปแบบส่องกราด SEM ที่ 20kv (กิโลโวลท์)
กำลังขยาย x 7500 เท่า สเกล 1 um (ไมครอน ) หรือ 0.001 มิลลิเมตร
ถ่ายในโหมด High vacuum (ความเป็นสูญญากาศสูง) ภาพแบบ SEI
เชื้อรา,รา ฉาบเคลือบด้วยทองเพื่อให้นำไฟฟ้าได้ 
ถ่ายโดย www.dosem24hr.com

ตามภาพล่างเป็นเชื้อรา,รา ถ่ายบริเวณผิวด้านนอก
ถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคปแบบส่องกราด SEM ที่ 20kv (กิโลโวลท์)
กำลังขยาย x 3500 เท่า สเกล 5 um (ไมครอน ) หรือ 0.005 มิลลิเมตร
ถ่ายในโหมด High vacuum (ความเป็นสูญญากาศสูง) ภาพแบบ SEI
เชื้อรา,รา ฉาบเคลือบด้วยทองเพื่อให้นำไฟฟ้าได้ 
ถ่ายโดย www.dosem24hr.com

ตามภาพล่างเป็นเชื้อรา,รา ถ่ายบริเวณผิวด้านนอก
ถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคปแบบส่องกราด SEM ที่ 20kv (กิโลโวลท์)
กำลังขยาย x 3500 เท่า สเกล 5 um (ไมครอน ) หรือ 0.005 มิลลิเมตร
ถ่ายในโหมด High vacuum (ความเป็นสูญญากาศสูง) ภาพแบบ SEI
เชื้อรา,รา ฉาบเคลือบด้วยทองเพื่อให้นำไฟฟ้าได้ 
ถ่ายโดย www.dosem24hr.com

ตามภาพล่างเป็นเชื้อรา,รา ถ่ายบริเวณผิวด้านนอก
ถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคปแบบส่องกราด SEM ที่ 20kv (กิโลโวลท์)
กำลังขยาย x 5000 เท่า สเกล 5 um (ไมครอน ) หรือ 0.005 มิลลิเมตร
ถ่ายในโหมด High vacuum (ความเป็นสูญญากาศสูง) ภาพแบบ SEI
เชื้อรา,รา ฉาบเคลือบด้วยทองเพื่อให้นำไฟฟ้าได้ 
ถ่ายโดย www.dosem24hr.com

ตามภาพล่างเป็นเชื้อรา,รา ถ่ายบริเวณผิวด้านนอก
ถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคปแบบส่องกราด SEM ที่ 20kv (กิโลโวลท์)
กำลังขยาย x 1500 เท่า สเกล 10 um (ไมครอน ) หรือ 0.01 มิลลิเมตร
ถ่ายในโหมด High vacuum (ความเป็นสูญญากาศสูง) ภาพแบบ SEI
เชื้อรา,รา ฉาบเคลือบด้วยทองเพื่อให้นำไฟฟ้าได้ 
ถ่ายโดย www.dosem24hr.com

ตามภาพล่างเป็นเชื้อรา,รา ถ่ายบริเวณผิวด้านนอก
ถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคปแบบส่องกราด SEM ที่ 20kv (กิโลโวลท์)
กำลังขยาย x 5000 เท่า สเกล 5 um (ไมครอน ) หรือ 0.005 มิลลิเมตร
ถ่ายในโหมด High vacuum (ความเป็นสูญญากาศสูง) ภาพแบบ SEI
เชื้อรา,รา ฉาบเคลือบด้วยทองเพื่อให้นำไฟฟ้าได้ 
ถ่ายโดย www.dosem24hr.com

ตามภาพล่างเป็นเชื้อรา,รา ถ่ายบริเวณผิวด้านนอก
ถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคปแบบส่องกราด SEM ที่ 20kv (กิโลโวลท์)
กำลังขยาย x 1000 เท่า สเกล 10 um (ไมครอน ) หรือ 0.01 มิลลิเมตร
ถ่ายในโหมด High vacuum (ความเป็นสูญญากาศสูง) ภาพแบบ SEI
เชื้อรา,รา ฉาบเคลือบด้วยทองเพื่อให้นำไฟฟ้าได้ 
ถ่ายโดย www.dosem24hr.com

ตามภาพล่างเป็นเชื้อรา,รา ถ่ายบริเวณผิวด้านนอก
ถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคปแบบส่องกราด SEM ที่ 20kv (กิโลโวลท์)
กำลังขยาย x 1500 เท่า สเกล 10 um (ไมครอน ) หรือ 0.01 มิลลิเมตร
ถ่ายในโหมด High vacuum (ความเป็นสูญญากาศสูง) ภาพแบบ SEI
เชื้อรา,รา ฉาบเคลือบด้วยทองเพื่อให้นำไฟฟ้าได้ 
ถ่ายโดย www.dosem24hr.com

ตามภาพล่างเป็นเชื้อรา,รา ถ่ายบริเวณผิวด้านนอก
ถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคปแบบส่องกราด SEM ที่ 20kv (กิโลโวลท์)
กำลังขยาย x 5000 เท่า สเกล 5 um (ไมครอน ) หรือ 0.005 มิลลิเมตร
ถ่ายในโหมด High vacuum (ความเป็นสูญญากาศสูง) ภาพแบบ SEI
เชื้อรา,รา ฉาบเคลือบด้วยทองเพื่อให้นำไฟฟ้าได้ 
ถ่ายโดย www.dosem24hr.com

เชื้อราแบบกระจายตัวหนาแน่น

ตามภาพล่างเป็นเชื้อรา,รา ถ่ายบริเวณผิวด้านนอก
ถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคปแบบส่องกราด SEM ที่ 20kv (กิโลโวลท์)
กำลังขยาย x 200 เท่า สเกล 100 um (ไมครอน ) หรือ 0.1 มิลลิเมตร
ถ่ายในโหมด High vacuum (ความเป็นสูญญากาศสูง) ภาพแบบ SEI
เชื้อรา,รา ฉาบเคลือบด้วยทองเพื่อให้นำไฟฟ้าได้ 
ถ่ายโดย www.dosem24hr.com

ตามภาพล่างเป็นเชื้อรา,รา ถ่ายบริเวณผิวด้านนอก
ถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคปแบบส่องกราด SEM ที่ 20kv (กิโลโวลท์)
กำลังขยาย x 500 เท่า สเกล 50 um (ไมครอน ) หรือ 0.05 มิลลิเมตร
ถ่ายในโหมด High vacuum (ความเป็นสูญญากาศสูง) ภาพแบบ SEI
เชื้อรา,รา ฉาบเคลือบด้วยทองเพื่อให้นำไฟฟ้าได้ 
ถ่ายโดย www.dosem24hr.com

ตามภาพล่างเป็นเชื้อรา,รา ถ่ายบริเวณผิวด้านนอก
ถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคปแบบส่องกราด SEM ที่ 20kv (กิโลโวลท์)
กำลังขยาย x 500 เท่า สเกล 50 um (ไมครอน ) หรือ 0.05 มิลลิเมตร
ถ่ายในโหมด High vacuum (ความเป็นสูญญากาศสูง) ภาพแบบ SEI
เชื้อรา,รา ฉาบเคลือบด้วยทองเพื่อให้นำไฟฟ้าได้ 
ถ่ายโดย www.dosem24hr.com

ตามภาพล่างเป็นเชื้อรา,รา ถ่ายบริเวณผิวด้านนอก
ถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคปแบบส่องกราด SEM ที่ 20kv (กิโลโวลท์)
กำลังขยาย x 2000 เท่า สเกล 10 um (ไมครอน ) หรือ 0.01 มิลลิเมตร
ถ่ายในโหมด High vacuum (ความเป็นสูญญากาศสูง) ภาพแบบ SEI
เชื้อรา,รา ฉาบเคลือบด้วยทองเพื่อให้นำไฟฟ้าได้ 
ถ่ายโดย www.dosem24hr.com

ตามภาพล่างเป็นเชื้อรา,รา ถ่ายบริเวณผิวด้านนอก
ถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคปแบบส่องกราด SEM ที่ 20kv (กิโลโวลท์)
กำลังขยาย x 2000 เท่า สเกล 10 um (ไมครอน ) หรือ 0.01 มิลลิเมตร
ถ่ายในโหมด High vacuum (ความเป็นสูญญากาศสูง) ภาพแบบ SEI
เชื้อรา,รา ฉาบเคลือบด้วยทองเพื่อให้นำไฟฟ้าได้ 
ถ่ายโดย www.dosem24hr.com

 รอชมภาพเชื้อรา,รา ชนิดอื่นๆกันได้อีกนะครับ จะหาชนิดอื่นๆมาถ่ายกันอีก

*********************************************************************

ขอขอบคุณ Do SEM ที่เปิดพื้นที่ให้ มากๆครับ ติดตามภาพสวยๆ/บทความต่อๆไปนะครับ

น้อมรับทุกคำชี้แนะครับ Mr.Golf (สิงห์เฒ่าซ่อมเซ็ม) manatsanan2007@hotmail.com
หรือมาพบปะพูดคุยได้ตามประสาได้ที่ BigC จ.สุรินทร์ (แอร์ฟรี 555 จริงๆนะครับ) หรือมา
ติดตามเป็นเพื่อนผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์ค ฝากคำถามได้ ตามลิงค์ด้านล่างเลยครับ
http://www.facebook.com/JeolOxfordInstruments?ref=hl

********************************************************************* 
fungus, mold , mould,bacteria , virus , pathogen,เชื้อรา,รา

บทความน่าสนใจอื่นๆ 

สถานที่ให้และรับบริการ SEM,EDS : ใกล้ฟิวเจอร์รังสิต และดรีมเวิลด์

Do SEM บริการเครื่อง SEM กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคป แบบส่องกราด

ปะการัง Coral

ปะการัง Coral 

ชื่อสัตว์ทะเลไม่มีกระดูกสันหลัง จำพวกเดียวกับดอกไม้ทะเล แต่ละตัวมีรูปร่างทรงกระบอก ส่วนใหญ่มีขนาด
เล็กอยู่รวมกันเป็นกระจุก สร้างหินปูนออกมาพอกทับถมกันเป็นโครงรูปร่างต่างๆ อาศัยและเจริญเติบโตใน
ทะเลตื้นเขตร้อน

ปะการัง ที่นำมาศึกษาจะเป็นปะการังฟอกขาว ตายแล้ว และแช่อยู่ในน้ำจืดเป็นระยะเวลา 4 เดือน โดยเราจะ
ศึกษาทางกายภาพด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคป SEM และวิเคราะห์ธาตุด้วย EDS/EDX

ลักษณะปะการัง ที่นำมาศึกษา เราจะนำมาชิ้นที่ไม่ใหญ่มาก ตามภาพล่าง

  

เราจะมาศึกษาปะการัง (Coral ) ทางกายภาพ ด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคป SEM
ในโหมดHigh vacuum (ความเป็นสูญญากาศสูง) ภาพแบบ SEI

ตามภาพล่างเป็นปะการัง (Coral ) ถ่ายบริเวณผิวด้านนอก
ถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคปแบบส่องกราด SEM ที่ 20kv (กิโลโวลท์)
กำลังขยาย x 35 เท่า สเกล 500 um (ไมครอน ) หรือ 0.5 มิลลิเมตร
ถ่ายในโหมด High vacuum (ความเป็นสูญญากาศสูง) ภาพแบบ SEI
ปะการัง (Coral ) ฉาบเคลือบด้วยทองเพื่อให้นำไฟฟ้าได้ 
ถ่ายโดย www.dosem24hr.com

ตามภาพล่างเป็นปะการัง (Coral ) ถ่ายบริเวณผิวด้านนอก
ถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคปแบบส่องกราด SEM ที่ 20kv (กิโลโวลท์)
กำลังขยาย x 200 เท่า สเกล 100 um (ไมครอน ) หรือ 0.1 มิลลิเมตร
ถ่ายในโหมด High vacuum (ความเป็นสูญญากาศสูง) ภาพแบบ SEI
ปะการัง (Coral ) ฉาบเคลือบด้วยทองเพื่อให้นำไฟฟ้าได้ 
ถ่ายโดย www.dosem24hr.com

 

ตามภาพล่างเป็นปะการัง (Coral ) ถ่ายบริเวณผิวใน ด้านตัดขวาง
ถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคปแบบส่องกราด SEM ที่ 20kv (กิโลโวลท์)
กำลังขยาย x 50 เท่า สเกล 500 um (ไมครอน ) หรือ 0.5 มิลลิเมตร
ถ่ายในโหมด High vacuum (ความเป็นสูญญากาศสูง) ภาพแบบ SEI
ปะการัง (Coral ) ฉาบเคลือบด้วยทองเพื่อให้นำไฟฟ้าได้ 
ถ่ายโดย www.dosem24hr.com

ตามภาพล่างเป็นปะการัง (Coral ) ถ่ายบริเวณผิวใน ด้านตัดขวาง
ถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคปแบบส่องกราด SEM ที่ 20kv (กิโลโวลท์)
กำลังขยาย x 200 เท่า สเกล 100 um (ไมครอน ) หรือ 0.1 มิลลิเมตร
ถ่ายในโหมด High vacuum (ความเป็นสูญญากาศสูง) ภาพแบบ SEI
ปะการัง (Coral ) ฉาบเคลือบด้วยทองเพื่อให้นำไฟฟ้าได้ 
ถ่ายโดย www.dosem24hr.com

ตามภาพล่างเป็นปะการัง (Coral ) ถ่ายบริเวณผิวใน ด้านตัดขวาง แนวยาว
ถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคปแบบส่องกราด SEM ที่ 20kv (กิโลโวลท์)
กำลังขยาย x 35 เท่า สเกล 500 um (ไมครอน ) หรือ 0.5 มิลลิเมตร
ถ่ายในโหมด High vacuum (ความเป็นสูญญากาศสูง) ภาพแบบ SEI
ปะการัง (Coral ) ฉาบเคลือบด้วยทองเพื่อให้นำไฟฟ้าได้ 
ถ่ายโดย www.dosem24hr.com

ตามภาพล่างเป็นปะการัง (Coral ) ถ่ายบริเวณผิวใน ด้านตัดขวาง แนวยาว
ถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคปแบบส่องกราด SEM ที่ 20kv (กิโลโวลท์)
กำลังขยาย x 1000 เท่า สเกล 10 um (ไมครอน ) หรือ 0.01 มิลลิเมตร
ถ่ายในโหมด High vacuum (ความเป็นสูญญากาศสูง) ภาพแบบ SEI
ปะการัง (Coral ) ฉาบเคลือบด้วยทองเพื่อให้นำไฟฟ้าได้ 
ถ่ายโดย www.dosem24hr.com

เราจะมาศึกษาปะการัง (Coral ) ทางกายภาพ ด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคป SEM
ในโหมด Low vacuum (ความเป็นสูญญากาศต่ำ) ภาพแบบ BEI COMPO ไม่ต้องฉาบเคลือบทอง

ตามภาพล่างเป็นปะการัง (Coral ) ถ่ายบริเวณผิวนอก 
ถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคปแบบส่องกราด SEM ที่ 20kv (กิโลโวลท์)
กำลังขยาย x 35 เท่า สเกล 500 um (ไมครอน ) หรือ 0.5 มิลลิเมตร
ถ่ายในโหมด Low vacuum (ความเป็นสูญญากาศต่ำ) ภาพแบบ BEI COMPO
ปะการัง (Coral ) ไม่ต้องฉาบเคลือบด้วยทอง
ถ่ายโดย www.dosem24hr.com

ตามภาพล่างเป็นปะการัง (Coral ) ถ่ายบริเวณผิวนอก 
ถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคปแบบส่องกราด SEM ที่ 20kv (กิโลโวลท์)
กำลังขยาย x 100 เท่า สเกล 100 um (ไมครอน ) หรือ 0.1 มิลลิเมตร
ถ่ายในโหมด Low vacuum (ความเป็นสูญญากาศต่ำ) ภาพแบบ BEI COMPO
ปะการัง (Coral ) ไม่ต้องฉาบเคลือบด้วยทอง
ถ่ายโดย www.dosem24hr.com

วิเคราะห์ธาตุในโหมด High vacuum (ความเป็นสูญญากาศสูง) 

วิเคราะห์ปะการัง (Coral )  Analysis ด้วยเครื่องวิเคราะห์ธาตุ EDS/EDX
วิเคราะห์ปะการัง (Coral )  เชิงคุณภาพ Qualitative Analysis 

ตามภาพล่างที่กำลังขยาย 200 เท่าเราจะวิเคราะห์ด้านเชิงคุณภาพ ทั้งภาพที่แสดง
ผลการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ จะได้ผลเป็นกราฟเชิงคุณภาพเหมือนภาพล่าง



กราฟเชิงคุณภาพปะการัง (Coral ) 
ตามตำแน่งภาพวิเคราะห์ กำลังขยาย x200

เราจะได้ผลว่ามีองค์ประกอบธาตุหรือสาร C คาร์บอน,O ออกซิเจน, Ca แคลเซียม, Na 
โซเดียม ,Mg แมกนีเซียม, Sr สตรอนเชียม ,และ Cl ครอรีนอยู่บนพื้นที่ที่เราวิเคราะห์ตาม
ภาพด้านบน 

 

จากผลการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ เราทราบแล้วว่ามีธาตุอะไรบ้าง แต่ยังไม่ทราบว่า 
มีปริมาณธาตุใดๆอยู่เท่าไร เราจะมาวิเคราะห์เชิงปริมาณกันต่อ

วิเคราะห์ธาตุเชิงปริมาณ Qualitative Analysis 
การวิเคราะห์เชิงปริมาณ เราจะได้ค่าเป็น Element % หรือเรียกอีกชื่อ Wt% (weight %)
หรืออีกชื่อ Con% (concentration%) และ Atomic%

บทความที่เกี่ยวข้อง

วิเคราะห์ธาตุเชิงปริมาณ เชิงคุณภาพด้วย EDS,EDX คลิก


ตามภาพล่างจะวิเคราะห์เชิงปริมาณแบบ

Quantitative method: ZAF ( 4 iterations).
Analysed all elements and normalised results.

ตามผลด้านล่างเราจะวิเคราะห์ธาตุทั้งหมด ที่ตรวจพบเจอในบริเวณผิวด้านนอก  
ซึ่งเราจะได้องค์ประกอบธาตุหรือสาร 

C คาร์บอน 14.60 % ,O ออกซิเจน 51.99%,Ca แคลเซียม 31.89%, Na โซเดียม 0.27%,
Mg แมกนีเซียม 0.16% , Sr สตรอนเชียม 0.98% ,และ Cl ครอรีน 0.10%

ตามภาพล่างจะวิเคราะห์เชิงปริมาณแบบ

Quantitative method: ZAF ( 3 iterations).

Analysed elements combined with: O ( Valency: -2)
Method : Stoichiometry Normalised results.

 Nos. of ions calculation based on  1 cations per formula.

(Condition เดียวกันกับด้านบนแต่เปลี่ยน Method )

จะได้ ค่าธาตุ อยู่ในรูปแบบคอมพาวด์ออกไซด์Compound % การอ่านผลยกตัวอย่าง 
จะได้ปริมาณ แคลเซียมออกไซด์ CaO 44.63% สตรอนเชียมออกไซด์ Sr 1.16%

วิเคราะห์ธาตุในโหมด Low vacuum (ความเป็นสูญญากาศต่ำ) ไม่ฉาบทอง

วิเคราะห์ปะการัง (Coral )  Analysis ด้วยเครื่องวิเคราะห์ธาตุ EDS/EDX
วิเคราะห์ปะการัง (Coral )  เชิงคุณภาพ Qualitative Analysis 

ตามภาพล่างที่กำลังขยาย 35 เท่าเราจะวิเคราะห์ด้านเชิงคุณภาพ ทั้งภาพที่แสดง
ผลการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ จะได้ผลเป็นกราฟเชิงคุณภาพเหมือนภาพล่าง

กราฟเชิงคุณภาพปะการัง (Coral ) 
ตามตำแน่งภาพวิเคราะห์ กำลังขยาย x35

เราจะได้ผลว่ามีองค์ประกอบธาตุหรือสาร C คาร์บอน,O ออกซิเจน, Ca แคลเซียม, Na 
โซเดียม ,Mg แมกนีเซียม, Sr สตรอนเชียม ,และ Cl ครอรีน, Al อลูมิเนียม ,P ฟอสฟอร์รัส
อยู่บนพื้นที่ที่เราวิเคราะห์ตามภาพ x35 ด้านบน 

ตามภาพบนจะวิเคราะห์เชิงปริมาณแบบ

Quantitative method: ZAF ( 4 iterations).
Analysed all elements and normalised results.

ตามผลด้านล่างเราจะวิเคราะห์ธาตุทั้งหมด ที่ตรวจพบเจอในบริเวณผิวด้านนอก  
ซึ่งเราจะได้องค์ประกอบธาตุหรือสาร 

C คาร์บอน 12.00 % ,O ออกซิเจน 55.96%,Ca แคลเซียม 30.57%, Na โซเดียม 0.26%,
Mg แมกนีเซียม 0.15% , Sr สตรอนเชียม 0.95% ,และ Cl ครอรีน 0.10%

ตามภาพล่างจะวิเคราะห์เชิงปริมาณแบบ

Quantitative method: ZAF ( 3 iterations).

Analysed elements combined with: O ( Valency: -2)
Method : Stoichiometry Normalised results.

 Nos. of ions calculation based on  1 cations per formula.

จะได้ ค่าธาตุ อยู่ในรูปแบบคอมพาวด์ออกไซด์Compound % การอ่านผลยกตัวอย่าง 
จะได้ปริมาณ แคลเซียมออกไซด์ CaO 32.41% สตรอนเชียมออกไซด์ Sr 0.46%

การวิเคราะห์ธาตุ % ธาตุส่วนใหญ่ จะประกอบด้วยธาต Ca แคลเซียม C คาร์บอน ,O ออกซิเจน 
เป็นองค์ประกอบธาตุหลัก ธาตุอื่นๆจะมีปริมาณไม่มาก และการศึกษาทางกายภาพพบว่าปะการัง
(Coral ) มีรูพรุนสม่ำเสมอ 

*********************************************************************

สุดท้ายขอขอบคุณ Do SEM ที่เปิดพื้นที่ให้ มากๆครับ ติดตามบทความต่อๆไปนะครับ

น้อมรับทุกคำชี้แนะครับ Mr.Golf (สิงห์เฒ่าซ่อมเซ็ม) manatsanan2007@hotmail.com
หรือมาพบปะพูดคุยได้ตามประสาได้ที่ BigC จ.สุรินทร์ (แอร์ฟรี 555 จริงๆนะครับ) หรือมา
ติดตามเป็นเพื่อนผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์ค ฝากคำถามได้ ตามลิงค์ด้านล่างเลยครับ
http://www.facebook.com/JeolOxfordInstruments?ref=hl

********************************************************************* 
ปะการัง,Coral

บทความน่าสนใจอื่นๆ 

สถานที่ให้และรับบริการ SEM,EDS : ใกล้ฟิวเจอร์รังสิต และดรีมเวิลด์

Do SEM บริการเครื่อง SEM กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคป แบบส่องกราด

Concrete คอนกรีต

Concrete คอนกรีต

องค์ประกอบของคอนกรีต
คอนกรีต จะประกอบด้วยปูนซีเมนต์ หิน ทราย และน้ำ โดยเมื่อนำส่วนผสมต่างๆ เหล่านี้มาผสมกัน
จะมีชื่อเรียกเฉพาะแตกต่างกันดังนี้

1.ปูนซีเมนต์ผสมกับน้ำเรียกว่า ซีเมนต์เพสต์  (Cement paste)
2.ซีเมนต์เพสต์ผสมกับทรายเรียกว่า มอร์ต้า (Mortar)
3.มอร์ต้าผสมกับหินหรือกรวดเรียกว่า คอนกรีต  (Concrete) 

บทความนี้เราจะศึกษาทางกายภาพ คอนกรีต (Concrete)แบบธรรมดาทั่วไป กับแบบอัดแรง,
มอร์ต้า (Mortar) และน้ำยากันซึม  ส่วนปูนซีเมนต์ (Cement) ดูบทความนี้ครับ คลิก

มอร์ต้า (Mortar) คือซีเมนต์เพสต์ผสมกับทราย (ปูนซีเมนต์ผสมกับน้ำ และทราย)
ตามภาพล่างคือ มอร์ต้า (Mortar) อายุการเซ็ทตัว 6 เดือน

เราจะมาศึกษามอร์ต้า (Mortar) ทางกายภาพ ด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคป SEM

ตามภาพล่างเป็นมอร์ต้า (Mortar)
ถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคปแบบส่องกราด SEM ที่ 20kv (กิโลโวลท์)
กำลังขยาย x 3500เท่า สเกล 5 um (ไมครอน ) หรือ 0.005 มิลลิเมตร
ถ่ายในโหมด High vacuum (ความเป็นสูญญากาศสูง) ภาพแบบ SEI
มอร์ต้า (Mortar) ฉาบเคลือบด้วยทองเพื่อให้นำไฟฟ้าได้
ถ่ายโดย www.dosem24hr.com

ตามภาพล่างเป็นมอร์ต้า (Mortar) 
ถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคปแบบส่องกราด SEM ที่ 20kv (กิโลโวลท์)
กำลังขยาย x 5000เท่า สเกล 5 um (ไมครอน ) หรือ 0.005 มิลลิเมตร
ถ่ายในโหมด High vacuum (ความเป็นสูญญากาศสูง) ภาพแบบ SEI
มอร์ต้า (Mortar) ฉาบเคลือบด้วยทองเพื่อให้นำไฟฟ้าได้
ถ่ายโดย www.dosem24hr.com

ตามภาพล่างเป็นมอร์ต้า (Mortar) 
ถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคปแบบส่องกราด SEM ที่ 20kv (กิโลโวลท์)
กำลังขยาย x 5000เท่า สเกล 5 um (ไมครอน ) หรือ 0.005 มิลลิเมตร
ถ่ายในโหมด High vacuum (ความเป็นสูญญากาศสูง) ภาพแบบ SEI
มอร์ต้า (Mortar) ฉาบเคลือบด้วยทองเพื่อให้นำไฟฟ้าได้
ถ่ายโดย www.dosem24hr.com

คอนกรีต (Concrete)

คอนกรีต (Concrete) แบบธรรมดาทั่วไป แบบไม่อัดแรง

ตามภาพล่างเป็นคอนกรีต (Concrete) แบบธรรมดาทั่วไป แบบไม่อัดแรง
ถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคปแบบส่องกราด SEM ที่ 20kv (กิโลโวลท์)
กำลังขยาย x 3500เท่า สเกล 5 um (ไมครอน ) หรือ 0.005 มิลลิเมตร
ถ่ายในโหมด High vacuum (ความเป็นสูญญากาศสูง) ภาพแบบ SEI
คอนกรีต (Concrete) ฉาบเคลือบด้วยทองเพื่อให้นำไฟฟ้าได้
ถ่ายโดย www.dosem24hr.com

ตามภาพล่างเป็นคอนกรีต (Concrete) แบบธรรมดาทั่วไป แบบไม่อัดแรง
ถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคปแบบส่องกราด SEM ที่ 20kv (กิโลโวลท์)
กำลังขยาย x 5000เท่า สเกล 5 um (ไมครอน ) หรือ 0.005 มิลลิเมตร
ถ่ายในโหมด High vacuum (ความเป็นสูญญากาศสูง) ภาพแบบ SEI
คอนกรีต (Concrete) ฉาบเคลือบด้วยทองเพื่อให้นำไฟฟ้าได้
ถ่ายโดย www.dosem24hr.com

ตามภาพล่างเป็นคอนกรีต (Concrete) แบบธรรมดาทั่วไป แบบไม่อัดแรง
ถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคปแบบส่องกราด SEM ที่ 20kv (กิโลโวลท์)
กำลังขยาย x 5000เท่า สเกล 5 um (ไมครอน ) หรือ 0.005 มิลลิเมตร
ถ่ายในโหมด High vacuum (ความเป็นสูญญากาศสูง) ภาพแบบ SEI
คอนกรีต (Concrete) ฉาบเคลือบด้วยทองเพื่อให้นำไฟฟ้าได้
ถ่ายโดย www.dosem24hr.com

ตามภาพล่างเป็นคอนกรีต (Concrete) แบบธรรมดาทั่วไป แบบไม่อัดแรง
ถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคปแบบส่องกราด SEM ที่ 20kv (กิโลโวลท์)
กำลังขยาย x 5000เท่า สเกล 5 um (ไมครอน ) หรือ 0.005 มิลลิเมตร
ถ่ายในโหมด High vacuum (ความเป็นสูญญากาศสูง) ภาพแบบ SEI
คอนกรีต (Concrete) ฉาบเคลือบด้วยทองเพื่อให้นำไฟฟ้าได้
ถ่ายโดย www.dosem24hr.com

ตามภาพล่างเป็นคอนกรีต (Concrete) แบบธรรมดาทั่วไป แบบไม่อัดแรง
ถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคปแบบส่องกราด SEM ที่ 20kv (กิโลโวลท์)
กำลังขยาย x 2000เท่า สเกล 10 um (ไมครอน ) หรือ 0.010 มิลลิเมตร
ถ่ายในโหมด High vacuum (ความเป็นสูญญากาศสูง) ภาพแบบ SEI
คอนกรีต (Concrete) ฉาบเคลือบด้วยทองเพื่อให้นำไฟฟ้าได้
ถ่ายโดย www.dosem24hr.com

ตามภาพล่างเป็นคอนกรีต (Concrete) แบบธรรมดาทั่วไป แบบไม่อัดแรง
ถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคปแบบส่องกราด SEM ที่ 20kv (กิโลโวลท์)
กำลังขยาย x 5000เท่า สเกล 5 um (ไมครอน ) หรือ 0.005 มิลลิเมตร
ถ่ายในโหมด High vacuum (ความเป็นสูญญากาศสูง) ภาพแบบ SEI
คอนกรีต (Concrete) ฉาบเคลือบด้วยทองเพื่อให้นำไฟฟ้าได้
ถ่ายโดย www.dosem24hr.com

ตามภาพล่างเป็นคอนกรีต (Concrete) แบบธรรมดาทั่วไป แบบไม่อัดแรง
ถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคปแบบส่องกราด SEM ที่ 20kv (กิโลโวลท์)
กำลังขยาย x 5000เท่า สเกล 5 um (ไมครอน ) หรือ 0.005 มิลลิเมตร
ถ่ายในโหมด High vacuum (ความเป็นสูญญากาศสูง) ภาพแบบ SEI
คอนกรีต (Concrete) ฉาบเคลือบด้วยทองเพื่อให้นำไฟฟ้าได้
ถ่ายโดย www.dosem24hr.com

คอนกรีต (Concrete)

คอนกรีต (Concrete) แบบอัดแรง

ตามภาพล่างเป็นคอนกรีต (Concrete) แบบอัดแรง
ถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคปแบบส่องกราด SEM ที่ 20kv (กิโลโวลท์)
กำลังขยาย x 3500เท่า สเกล 5 um (ไมครอน ) หรือ 0.005 มิลลิเมตร
ถ่ายในโหมด High vacuum (ความเป็นสูญญากาศสูง) ภาพแบบ SEI
คอนกรีต (Concrete) ฉาบเคลือบด้วยทองเพื่อให้นำไฟฟ้าได้
ถ่ายโดย www.dosem24hr.com

ตามภาพล่างเป็นคอนกรีต (Concrete) แบบอัดแรง
ถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคปแบบส่องกราด SEM ที่ 20kv (กิโลโวลท์)
กำลังขยาย x 3500เท่า สเกล 5 um (ไมครอน ) หรือ 0.005 มิลลิเมตร
ถ่ายในโหมด High vacuum (ความเป็นสูญญากาศสูง) ภาพแบบ SEI
คอนกรีต (Concrete) ฉาบเคลือบด้วยทองเพื่อให้นำไฟฟ้าได้
ถ่ายโดย www.dosem24hr.com

ตามภาพล่างเป็นคอนกรีต (Concrete) แบบอัดแรง
ถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคปแบบส่องกราด SEM ที่ 20kv (กิโลโวลท์)
กำลังขยาย x 5000เท่า สเกล 5 um (ไมครอน ) หรือ 0.005 มิลลิเมตร
ถ่ายในโหมด High vacuum (ความเป็นสูญญากาศสูง) ภาพแบบ SEI
คอนกรีต (Concrete) ฉาบเคลือบด้วยทองเพื่อให้นำไฟฟ้าได้
ถ่ายโดย www.dosem24hr.com

ตามภาพล่างเป็นคอนกรีต (Concrete) แบบอัดแรง
ถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคปแบบส่องกราด SEM ที่ 20kv (กิโลโวลท์)
กำลังขยาย x 5000เท่า สเกล 5 um (ไมครอน ) หรือ 0.005 มิลลิเมตร
ถ่ายในโหมด High vacuum (ความเป็นสูญญากาศสูง) ภาพแบบ SEI
คอนกรีต (Concrete) ฉาบเคลือบด้วยทองเพื่อให้นำไฟฟ้าได้
ถ่ายโดย www.dosem24hr.com

ตามภาพล่างเป็นคอนกรีต (Concrete) แบบอัดแรง
ถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคปแบบส่องกราด SEM ที่ 20kv (กิโลโวลท์)
กำลังขยาย x 5000เท่า สเกล 5 um (ไมครอน ) หรือ 0.005 มิลลิเมตร
ถ่ายในโหมด High vacuum (ความเป็นสูญญากาศสูง) ภาพแบบ SEI
คอนกรีต (Concrete) ฉาบเคลือบด้วยทองเพื่อให้นำไฟฟ้าได้
ถ่ายโดย www.dosem24hr.com

ตามภาพล่างเป็นคอนกรีต (Concrete) แบบอัดแรง
ถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคปแบบส่องกราด SEM ที่ 20kv (กิโลโวลท์)
กำลังขยาย x 5000เท่า สเกล 5 um (ไมครอน ) หรือ 0.005 มิลลิเมตร
ถ่ายในโหมด High vacuum (ความเป็นสูญญากาศสูง) ภาพแบบ SEI
คอนกรีต (Concrete) ฉาบเคลือบด้วยทองเพื่อให้นำไฟฟ้าได้
ถ่ายโดย www.dosem24hr.com

น้ำยากันซึม

น้ำยากันซึมที่ใช้ร่วมกับซีเมนต์ และคอนกรีตที่ขายตามท้องตลาด เรานำมาศึกษาทาง
กายภาพ โดยนำมาผสมกับน้ำแล้วรอให้ตกผลึก แล้วนำมาถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนฯ

ตามภาพล่างเป็นน้ำยากันซึม
ถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคปแบบส่องกราด SEM ที่ 20kv (กิโลโวลท์)
กำลังขยาย x 3500เท่า สเกล 5 um (ไมครอน ) หรือ 0.005 มิลลิเมตร
ถ่ายในโหมด High vacuum (ความเป็นสูญญากาศสูง) ภาพแบบ SEI
น้ำยากันซึม ฉาบเคลือบด้วยทองเพื่อให้นำไฟฟ้าได้
ถ่ายโดย www.dosem24hr.com

ตามภาพล่างเป็นน้ำยากันซึม
ถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคปแบบส่องกราด SEM ที่ 20kv (กิโลโวลท์)
กำลังขยาย x 5000เท่า สเกล 5 um (ไมครอน ) หรือ 0.005 มิลลิเมตร
ถ่ายในโหมด High vacuum (ความเป็นสูญญากาศสูง) ภาพแบบ SEI
น้ำยากันซึม ฉาบเคลือบด้วยทองเพื่อให้นำไฟฟ้าได้
ถ่ายโดย www.dosem24hr.com

บทความที่เกี่ยวข้อง : ปูนซีเมนต์ (Cement) ดูบทความนี้ครับ คลิก

ติดตามผลงานการถ่ายภาพสวยได้ใหม่นะครับ จะหาอะไรแปลกๆมาถ่ายกัน

ติดตามภาพสวยๆ จากกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคป แบบส่องกราด
ได้ใหม่ ทางDo SEM ติดตามกันนะครับ

*********************************************************************

สุดท้ายขอขอบคุณ Do SEM ที่เปิดพื้นที่ให้ มากๆครับ ติดตามบทความต่อๆไปนะครับ

น้อมรับทุกคำชี้แนะครับ Mr.Golf (สิงห์เฒ่าซ่อมเซ็ม) manatsanan2007@hotmail.com
หรือมาพบปะพูดคุยได้ตามประสาได้ที่ BigC จ.สุรินทร์ (แอร์ฟรี 555 จริงๆนะครับ) หรือมา
ติดตามเป็นเพื่อนผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์ค ฝากคำถามได้ ตามลิงค์ด้านล่างเลยครับ
http://www.facebook.com/JeolOxfordInstruments?ref=hl

*********************************************************************  
Cement,Concrete,ซีเมนต์เพสต์,Cement paste,ซีเมนต์,มอร์ต้า,Mortar,คอนกรีต,น้ำยากันซึม

สถานที่ให้และรับบริการ SEM,EDS : ใกล้ฟิวเจอร์รังสิต และดรีมเวิลด์

Do SEM บริการเครื่อง SEM กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคป แบบส่องกราด